Tag Archives: leadership

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : Life and Career Skills

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์ การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction) บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ […]

9 แก่นสารสำคัญสำหรับผู้บริหารใหม่ : THE 9 ESSENCES FOR NEW EXECUTIVE

จากประสบการณ์การเป็นผู้บริหารองค์กร และ การได้สนทนาสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์กร รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำให้กับองค์กร พบว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนได้ฝึก “รู้สึกตัวกับสิ่งที่เคยคุ้น และ ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย“ ภายใต้เงื่อนไขว่า บรรยากาศในการเรียนเหมาะสม และ ผู้เรียนต้องมีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์ด้วย เนื่องจาก หากเผชิญกับประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วยอารมณ์เชิงลบ การเรียนรู้พื้นที่ใหม่ ๆ ภายในจิตใจก็จะไม่เกิดขึ้น การเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ภายในจิตใจ อุปมาเหมือนกับ ประตูตัวตนเริ่มถูกเคาะ แต่ยังไม่เปิดออก เพราะกลัวสูญเสียการควบคุม กลัวไม่เก่ง กลัวไม่ดี กลัวไม่ถูก กลัวไม่ฉลาดเหมือนเก่า กลัวความไม่รู้ ดำรงอยู่กับการเรียนรู้ได้ไม่นาน อยากรู้เร็ว ๆ โดยไม่ต้องฝึก เนื่องจาก สมองใช้กลไกปกป้องตัวตน พยายามกลับมาเป็นแบบที่ถนัด ใช้ตัวตนเดิม ๆ คิดออกนอกตัว ออกห่างจากจิตใจตนเอง จึงลืมรับผิดชอบความรู้สึกของตนเอง เมื่อสภาวะด้านอารมณ์ปั่นป่วนจะถ่ายเทไปนอกตัวโดยการโทษสิ่งอื่น คนอื่น ที่ห่างตัวตน หรือ กลุ่มตนออกไป คำพูดจึงเต็มไปด้วยแง่ลบ ตัดสินคนอื่น หรือ ตัดพ้อตนเอง 9 แก่นสารสำคัญสำหรับผู้บริหารใหม่ (THE […]

สอนให้ฝึก ฝึกไม่สอน : Teaching How to Practice

ระหว่างที่ผมกำลังศึกษาเรื่อง “Facilitative Leader” ให้ครอบคลุมลงลึกมากขึ้นทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ก็พบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ คิดว่าน่าสอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของใครหลาย ๆ คน ซึ่งจะทำให้เข้าใจเรื่อง “Facilitative Leader” ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วครับ เรื่องเล่านี้จะมีประโยชน์มาก ๆ กับผู้นำที่กำลังสนใจทักษะการสอนงานที่ทันสมัย รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องการแนวคิด ในการสอนลูก ๆ หลาน ๆ ด้วยครับ ในปี 2017 มีนักการศึกษาจีน 3 คน ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบใหม่ของภาวะผู้นำสากล (International Leadership) โดยเรียกกว่า “International Facilitative Leadership” ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ มีความเป็นผู้นำร่วม (Collective Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบมหาอำนาจ (Hegemonic Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบดึงดูดใจ (Attractive Leadership) มากกว่าเป็นผู้นำแบบบีบบังคับ (Coercive Leadership) มีความเป็นผู้นำแบบชนะร่วมกัน (Win-Win Leadership) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เมื่อไม่เป็น ก็เป็นไปได้ : Adaptability and Possibility

แท้จริงแล้วธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แม้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเราอยู่ในปัจจุบัน เพียงเผลอยึดติดไว้แค่เสี้ยววินาที เราก็อาจติดอยู่ในอดีตทันที เราอาจเป็นหัวหน้างานเมื่ออยู่ที่ทำงาน พอกลับถึงบ้านเรากลายเป็นคุณพ่อแล้ว ทางเดียวที่จะดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ ก็คือการปล่อยวางออกจากความคิดว่าเราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป และ นี่ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราเป็นไปได้ทุกสิ่ง เล่าจื๊อ กล่าวว่า “เมื่อฉันปล่อยผ่านสิ่งที่ฉันเป็น ฉันจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะเป็น” (When I let go of what I am, I become what I might be.) จากภูมิปัญญาบรรพกาลสู่โลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยน ให้เท่าทันท่วงจังหวะของสิ่งรอบตัว ยังมีความสำคัญมาก ๆ ต่อภาวะผู้นำสำหรับองค์กร เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการลังเลใจกลับไปกลับมา หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดู ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีสมาธิกับเป้าหมายใหญ่ และ พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมายนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เกินคาด เช่น มีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ […]

บทนำสู่การเป็นผู้นำกระบวนการ : Introduction to Facilitative Leader

ในอดีตผู้นำมีบทบาทบอกให้ผู้ตามทำตาม อันนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่ทำไปด้วยความทนอด ทำถูกได้รางวัล ทำผิดถูกลงโทษ ทีมงานจึงอยู่ในฐานะที่ไม่ต้องออกความคิดเห็นใด ๆ เมื่อเวลาเปลี่ยน โลกได้เปลี่ยนไป เราพบความจริงว่า แม้ผู้นำที่เก่งกาจเพียงใดก็ยังมีจุดบอด และ มนุษย์ทุกคนเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ แนวทางการทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำจึงเกิดขึ้น “Facilitative Leader” จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยเหตุนี้ครับ Facilitative Leaders มีท่าทีมุ่งเน้นใน 4 ส่วนหลัก คือ เน้นการมีส่วนร่วม, เน้นกระจายอำนาจ, เน้นทางเลือก ไม่ยึดติด และ เน้นสนับสนุน สร้างการเรียนรู้ 1. เน้นการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นที่กระบวนการทำงานร่วมกัน ไม่คาดหวังให้ได้ผลอย่างใจตน เน้นฉันทามติ หรือ ทุกคนยอมรับในผลแม้ไม่สมบูรณ์แบบดังใจตน ยอมรับความต่าง เชื่อว่าไอเดียดี ๆ มาจากความต่าง 2. เน้นกระจายอำนาจ บริหารงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลอย่างทั่วถึง วางใจในพันธสัญญาร่วมกัน ให้เกียรติกัน ไม่เกาะติด กดดันให้คนอื่นทำอย่างที่พูด เปิดพื้นที่ให้ทีมงานเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเอง ไม่ออกอาการคัดค้าน เกื้อหนุนให้ทีมบริหารจัดการตนเอง (Self-organizing Team) และ ฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน […]

10 คำถามเพื่อค้นพบ “Facilitative Leader” ในตัวเรา

1.) เมื่อมีปัญหาในงาน เราจะ… ก. เข้าไปจัดการแก้ปัญหาเอง ข. ให้ทีมงานร่วมกันหาทางออก 2.) จัดการข้อมูลในงานโดย… ก. ถือข้อมูลเอาไว้กับตัวเอง ข. แจ้งข้อมูลให้กับทุกคนรับรู้ 3.) จัดการความคิดเห็นโดย… ก. ปัดป้องความคิดเห็นที่แตกต่าง ข. เปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่าง 4.) กระบวนการตัดสินใจในทีม ทำโดย… ก. ส่งต่อการตัดสินใจของเราให้ทีมรับทราบ ข. มอบหมายให้ทีมงาน ร่วมค้นหาฉันทามติ 5.) การติดตามงาน ทำโดย… ก. ติดตามประชิด เพื่อให้ทีมงานปฏิบัติตาม ข. ไว้วางใจในพันธสัญญาที่ทุกคนมีให้ต่อกัน 6.) เมื่อมีประเด็นความขัดแย้ง คิดว่า… ก. ไม่เหมาะสมที่จะนำออกมาคุยกัน ข. เป็นสิ่งที่คุ้มค่าในการได้พูดคุยกัน 7.) เมื่อมีความขัดแย้งเกิดในทีม เราจะ.. ก. เข้าจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ข. ให้ความรู้ทีมงานถึงวิธีการคลี่คลาย 8.) เมื่อมีความคิดเห็นส่วนตัว มักจะ… ก. แน่ใจ ไม่คิดว่าจำเป็นต้องตรวจสอบ […]

กระบวนการเรียนรู้ : PURE Learning Process

อ.ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบเฉพาะสำหรับการฝึกอบรมขึ้นมา โดยมีชื่อที่จดจำง่าย ๆ ว่า “PURE” เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากคุณลักษณะด้านใน สำหรับหลักสูตรทักษะการนำกระบวนการ และ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitation Skills) และ  หลักสูตร ผู้นำความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence for Leader) PURE Learning Process เพื่อใช้ในบริบทงานฝึกอบรม และ ชีวิตประจำวัน P : Practice, Activity and Workshop U : Understanding and Contemplating R : Reflection and Group Coaching E : Explaining and Storytelling PURE Advance Mode เพื่อการเรียนรู้พัฒนาชีวิตในระดับสูง สร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นสุด ประกอบด้วย 4 […]

เข้าถึงใจผู้อื่นผ่านเซลล์สมองกระจกเงา : empathy through mirror neuron

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานภาวนาครั้งสำคัญของหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ชื่องานว่า Asia-Pacific Core-Sangha Retreat 2016 ตอน ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งคือรักแท้ (Deep Understanding is True Love) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นงานที่รวมผู้ปฏิบัติตามแนวทางหมู่บ้านพลัมจากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ประสบการณ์เล็กๆ ที่จะขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ในวันหนึ่ง ระหว่างงานภาวนา ในขณะที่ผมออกจากห้องน้ำเรือนพักชาย ผมพบกับนักปฏิบัติผู้หนึ่งกำลังจัดเรียงรองเท้าสำรองที่ใช้สำหรับเปลี่ยนใส่เข้าห้องน้ำขึ้นชั้นวาง เขาไม่ได้เพียงจัดเรียงรองเท้าที่ตนเองสวมใส่ แต่ยังจัดเรียงรองเท้าที่วางระเกะระกะจำนวนมากหน้าห้องน้ำ ให้เข้าชั้นอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ผมมองไปรอบๆ บริเวณนั้นไม่พบผู้ใด ไม่มีผู้ใดสักคนที่จะมาแลเห็นพฤติกรรมอันดีนี้ เพื่อชื่นชมเขา เขาทำโดยไม่ได้สนใจคำชื่นชมใดๆ เรื่องราวเล็กๆนี้ […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]