Tag Archives: Emotional Intelligence

เข้าถึงใจผู้อื่นผ่านเซลล์สมองกระจกเงา : empathy through mirror neuron

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานภาวนาครั้งสำคัญของหมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ชื่องานว่า Asia-Pacific Core-Sangha Retreat 2016 ตอน ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งคือรักแท้ (Deep Understanding is True Love) ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นงานที่รวมผู้ปฏิบัติตามแนวทางหมู่บ้านพลัมจากหลายๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ประสบการณ์เล็กๆ ที่จะขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังก็คือ ในวันหนึ่ง ระหว่างงานภาวนา ในขณะที่ผมออกจากห้องน้ำเรือนพักชาย ผมพบกับนักปฏิบัติผู้หนึ่งกำลังจัดเรียงรองเท้าสำรองที่ใช้สำหรับเปลี่ยนใส่เข้าห้องน้ำขึ้นชั้นวาง เขาไม่ได้เพียงจัดเรียงรองเท้าที่ตนเองสวมใส่ แต่ยังจัดเรียงรองเท้าที่วางระเกะระกะจำนวนมากหน้าห้องน้ำ ให้เข้าชั้นอย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ผมมองไปรอบๆ บริเวณนั้นไม่พบผู้ใด ไม่มีผู้ใดสักคนที่จะมาแลเห็นพฤติกรรมอันดีนี้ เพื่อชื่นชมเขา เขาทำโดยไม่ได้สนใจคำชื่นชมใดๆ เรื่องราวเล็กๆนี้ […]

สมองและการบริหารจัดการตนเอง : brain and self-management

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารจัดการตนเอง (self-management) ซึ่งหมายถึง การดูแลท่าทีของตนเองให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในเวลาปกติสุข และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คับขัน รู้สึกกลัว รู้สึกไม่คุ้นชิน รู้สึกไม่ปลอดภัย เวลาปกติสุขสมองส่วนที่กุมอำนาจเป็นหัวหน้าใหญ่ของมนุษย์ ก็คือ สมองส่วนหน้า (preconfrontal cortex) ซึ่งอยู่หลังหน้าผากของเรา จะคอยบัญชาการในการคิด ตัดสินใจ วางแผน และ การเรียนรู้ของเรา แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ที่คับขัน รู้สึกไม่ปลอดภัย สมองส่วนหนึ่งที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) ที่อยู่ส่วนกลางบริเวณระหว่างหู จะเข้ายึดครองการทำงาน เพื่อสลายสภาวะที่รู้สึกไม่ปลอดภัยแบบฉับพลัน แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่เกลือกกลั้วอยู่ด้วยอารมณ์ โกรธ กลัว กังขา บางการกระทำก็ส่งผลดี เช่น การตัดสินใจอย่างฉับพลันเพื่อควบคุมรถก่อนเกิดอุบัติเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ รู้สึกเสียใจภายหลังที่ทำลงไป เช่น การแก้ตัวแบบโผงผาง  พูดไม่หยุด พูดเสียงดัง ไม่ยอมฟังกัน เพราะความกลัวลึก ๆ ในใจกลัวการไม่ได้รับความใส่ใจ หรือ การกล่าวโทษผู้อื่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ในสถานการณ์ที่เราเป็นกังวล สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ เรื่องราวในวัยเด็กนั้น […]

การพัฒนาความสามารถในการปรับตัว : developing adaptability

การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ มีประโยชน์ช่วยให้เกิดความชำนาญในสิ่งที่ทำ แต่ทุกความชำนาญไม่อาจสำเร็จได้ หากขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และ หากเรามัวจมจ่อมกับความสำเร็จเดิมๆ จนลืมเงยหน้าขึ้นมามองการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ไม่ฉุกคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ ปรับตัว ก็อาจทำให้เราหลุดจากความสำเร็จที่กำลังเชยชมอยู่ตรงนั้น อย่างไม่รู้ตัวได้เลยทีเดียว ความกลัวมักจะแฝงตัวมาอย่างแนบเนียนในความคิด ซึ่งจะหาข้ออ้างให้เราไม่เปลี่ยนแปลง เทคนิคก็คือ เราต้องแหวกก้อนเมฆแห่งความคิด ออกจากเหตุผลเดิมๆ เมื่อไม่มีก้อนเมฆเราจะพบกับท้องฟ้า โลกด้านในของเราจะอยู่ในสภาวะฟ้าใส (beginner’s  mind) เมื่อไม่มีก้อนเมฆแห่งความคิดมาบดบัง ก็จะทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆแต่ละก้อนได้อย่างแจ่มชัด งานเขียนนี้ จะได้แนะนำแนวทาง แนวคิด มุมมองต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัว (adaptability) หนึ่ง) การเรียนรู้แบบรอบคู่ (double loop learning) การเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะเกิดขึ้นแบบเหตุกับผล คือ เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลดีก็ไปทำเหตุเพิ่ม เมื่อทำเหตุแล้วได้ผลไม่ดีก็ไปลดเหตุลง เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วขายดี ก็ไปขยายสาขาเพิ่ม เปิดร้านกาแฟแล้วถ้าขายไม่ดี ก็ไปลดสาขาหรือปิดตัวลง เรียกการเรียนรู้เช่นนี้ว่า การเรียนรู้วงรอบเดี่ยว (single loop learning) ถ้าการตัดสินใจนั้นถูกต้องก็จะโชคดี แต่ถ้าการตัดสินใจนั้นผิดพลาดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น ผิดซ้ำๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีการทบทวนที่ลึกซึ้งไปกว่าเหตุผลเดิมๆ ยังมีการเรียนรู้อีกแบบ เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบรอบคู่ […]

ความสามารถในการปรับตัว : adaptability

ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการเปลี่ยนใจ หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดูก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ดำรงอยู่ในความคลุมเคลือ หรือ คำร้องขอที่วกวนไปมา สามารถปรับตัวในสถานการณ์ใหม่ๆ ด้วยไอเดียและนวัตกรรมที่สดใหม่ ยังคงมีสมาธิกับเป้าหมาย และ พร้อมในการปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมาย ผู้นำที่พร้อมปรับเปลี่ยนตนเองจะรู้สึกท้าทายเมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงขึ้น อาจหมายถึงมีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ หรือ บางสิ่งหยุดชะงักหายไปในทันที เขาจะยังดำรงตนด้วยใจที่โล่งโปร่งเบาแบบสบายๆ บนความไม่แน่นอนที่เผชิญพบเจอนั้นได้ ในอดีตสมาร์ทโฟน BlackBerry เคยได้รับความนิยม ด้วยจุดเด่นของคีย์บอร์ดที่สามารถใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะที่การถือกำเนิดเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G ทำให้มีสมาร์ทโฟนจาก Apple และ Android ได้รับความนิยมจนเริ่มเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจาก BlackBerry ไป ถึงกระนั้นเอง BlackBerry ก็ยังคงภูมิใจในคีย์บอร์ดที่เป็นจุดเด่นของตนเอง และ ปฏิเสธที่จะผลิตสมาร์ทโฟนแบบหน้าจอสัมผัส (touch screen) ตามกระแสอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ BlackBerry หลุดจากตลาดสมาร์ทโฟนไปในที่สุด ในปี 2017 ฝ่าย K-SME Analysis ธนาคารกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ 5 เทรนด์ธุรกิจ แรงแซงโค้งปี […]

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ : developing emotional intelligence

เราไม่อาจสอนคำว่า “เบา” ได้จากการอธิบาย จนกว่าจะได้ลองยกของหนักแล้ววางมันลงด้วยตัวเอง ในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน เหตุปัจจัยใดบ้างที่มาผสมรวมกัน แล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) คือ ความสามารถระดับจิตใจ จึงจำเป็นต้องพัฒนาจากระดับจิตใจ หรือ เรียกว่าระเบิดจากภายใน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงอาจไม่ง่ายเหมือนกับการสั่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยให้กับตัวเองได้ในทันที งานเขียนนี้จะหลอมรวมทฤษฏี แนวคิดหลายๆ อย่าง โดยใช้โมเดลวงจรการเปลี่ยนแปลง TTM (The Transtheoretical Model) เป็นแก่นแกนในการอธิบาย  แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ หนึ่ง) ก่อนใคร่ครวญ (Precontemplation) เป็นช่วงเวลาที่เราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงที่จำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรมาชี้แนะ หรือ ผ่านประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ด้วยตนเอง การคบมิตรที่ดี และ หมั่นฝึกฝนการใคร่ครวญ (contemplative) ย้อนกลับมาสำรวจกายและใจตัวเองอยู่เรื่อยๆ จะเป็นต้นทุนสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสเกิดการตระหนักรู้ในส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ได้มากขึ้น . สอง) ช่วงใคร่ครวญ (Contemplation) เป็นช่วงเวลาหลังผ่านประสบการณ์บางอย่างแล้วทำให้เกิดการตระหนักรู้ จนเห็นความสำคัญ จนต้องมาใคร่ครวญกายและใจของตนเอง กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มรู้ถึงพฤติกรรมของตนเองที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง […]

สมรรถนะทางอารมณ์และสังคม : emotional and social competencies

องค์กรอาจเคยใช้แบบทดสอบวัด IQ หรือ ดูผลสอบในมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน แต่วิธีการเหล่านี้อาจกำลังล้าหลัง และ ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน หนึ่งในนั้นก็คือ การกำหนดสมรรถนะตามตำแหน่งงาน ด้วยการมองหาบุคคลตัวอย่างในองค์กรของเราเอง กลุ่มบุคคลที่สามารถทำงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ 10% แรก เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน วิเคราะห์หาความสามารถของเขาเหล่านั้น เพื่อกำหนดโมเดลสมรรถนะ (a competence model) สำหรับใช้เพื่อพิจารณารับคนเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่งงาน หรือ ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาผู้นำ Daniel Goleman นักจิตวิทยาระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence ได้แบ่่งรูปแบบสมรรถนะ (a competence model) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะเริ่มต้น (threshold competencies) คือ สมรรถนะพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในการเริ่มต้นทำงาน สำหรับคัดเลือกพนักงานใหม่ สมรรถนะพิเศษ (distinguishing competencies) คือ สมรรถนะที่มีในผู้ที่ทำงานได้อย่างโดดเด่น เป็นอันดับต้นๆ ในตำแหน่งงานนั้น ภายหลังจากที่ Daniel Goleman […]

แกะรอยค้นพบตัวตนจากมุมมองใหม่ : self-awareness

สิ่งที่น่าสนใจมากๆ ของชีวิตมนุษย์ก็คือ เรามักจะรู้จักคนอื่นๆ ได้อย่างดี สามารถชี้ระบุชัดว่า ใครเป็นคนนิสัยอย่างไร มีบุคลิกภาพอย่างไร ชอบอะไร เกลียดอะไร ถ้าเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น เขาจะมีทีท่าอย่างไร “เรารู้จักคนอื่นได้ดี ยกเว้น ตัวเราเอง” แต่ก็จะมีคำกล่าวปลอบโยนตัวเองตามมาเสมอว่า “ตัวเราเองนั่นแหละ ที่รู้จักตัวเองดีที่สุด” หลังจากปลอบโยนตัวเองเสร็จ เราก็พึงพอใจในคำคมนี้ และ อาจลืมเลือนหายไป จากการมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่กระบวนการสืบค้น รู้จักตัวเองให้ได้อย่างแท้จริง งานเขียนนี้ จะชวนให้เรากลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องภายในตัวเอง ซึ่งเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน และ ทักษะขั้นสูงด้วยในขณะเดียวกัน โดยจะจำแนกแนวทางในการแกะรอยค้นพบตัวตน จากมุมมองต่างๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ บุคลิกภาพหลัก, วิทยาศาสตร์ทางสมอง, จิตวิทยาตัวตน และ การสืบค้นตัวตนผ่านทางร่างกาย ความคิด จิตใจ หนึ่ง ) บุคลิกภาพหลัก ปัจจุบันมีศาสตร์ต่างๆมากมาย ที่จำแนกแบ่งมนุษย์จากท่าทีที่เราแสดงออกมา หรือ จากศักยภาพเชิงลึกภายใน เช่น ผู้นำสี่ทิศ, Talent SCANN, DISC, ธาตุ 4, จริต […]