Tag Archives: compassion

ก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย : Expand Your Comfort Zone

คุณสมบัติหนึ่งที่ผู้บริหารมีคือ การเข้าใจคนที่ทำงานอยู่ในหลายๆ ตำแหน่ง และก็จะช่วยได้มากหากเราเคยมีประสบการณ์ทำงานในหลายๆ ตำแหน่งมาก่อน หรือ ได้มีโอกาสพูดคุยสนิทสนมกับคนในหลายๆ ตำแหน่ง หลายๆ ฝ่าย หลายๆ วัย การฝึกที่จะเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การฝึกทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ การพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ สิ่งที่เราต้องการในการเผชิญความไม่คุ้นเคยก็คือ การออกนอกความคุ้นเคย (Comfort Zone) ในระดับที่พอเหมาะพอดี ไม่มากเกินไปจนเกิดอาการตื่นตระหนก (Panic Zone) การค่อยๆ ขยับจากความคุ้นเคยออกมา สู่การทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยที่ละนิด รู้สึกท้าทาย ในขณะที่ก็สามารถที่จะปล่อยวางจากผลลัพธ์ว่าจะต้องออกมาดูเก่ง ดูดี ดูฉลาด ดูถูกต้อง อย่างที่เราทำในสิ่งที่ถนัด เรียกพื้นที่ความท้าทาย ที่รู้สึกสบายใจเช่นนี้ว่า พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เป้าหมายของการก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การขยายศักยภาพใหม่ๆ ให้กับชีวิต ด้วยการสังเกตอาการอึดอัดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นไปอย่างใจ อาจมีเสียงเล็กๆ ภายในของเราเอง (Inner Voice) ที่คอยให้เหตุผลต่างๆ นานา เพื่อให้เราย้อนกลับไปทำแบบเดิมๆ กลับไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยอย่างเก่า เมื่อเราเท่าทันเสียงต้านทานภายในของเราเอง […]

สมองและการบริหารจัดการตนเอง : brain and self-management

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารจัดการตนเอง (self-management) ซึ่งหมายถึง การดูแลท่าทีของตนเองให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในเวลาปกติสุข และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่คับขัน รู้สึกกลัว รู้สึกไม่คุ้นชิน รู้สึกไม่ปลอดภัย เวลาปกติสุขสมองส่วนที่กุมอำนาจเป็นหัวหน้าใหญ่ของมนุษย์ ก็คือ สมองส่วนหน้า (preconfrontal cortex) ซึ่งอยู่หลังหน้าผากของเรา จะคอยบัญชาการในการคิด ตัดสินใจ วางแผน และ การเรียนรู้ของเรา แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ที่คับขัน รู้สึกไม่ปลอดภัย สมองส่วนหนึ่งที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) ที่อยู่ส่วนกลางบริเวณระหว่างหู จะเข้ายึดครองการทำงาน เพื่อสลายสภาวะที่รู้สึกไม่ปลอดภัยแบบฉับพลัน แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่เกลือกกลั้วอยู่ด้วยอารมณ์ โกรธ กลัว กังขา บางการกระทำก็ส่งผลดี เช่น การตัดสินใจอย่างฉับพลันเพื่อควบคุมรถก่อนเกิดอุบัติเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ รู้สึกเสียใจภายหลังที่ทำลงไป เช่น การแก้ตัวแบบโผงผาง  พูดไม่หยุด พูดเสียงดัง ไม่ยอมฟังกัน เพราะความกลัวลึก ๆ ในใจกลัวการไม่ได้รับความใส่ใจ หรือ การกล่าวโทษผู้อื่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ในสถานการณ์ที่เราเป็นกังวล สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ เรื่องราวในวัยเด็กนั้น […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]