Tag Archives: communication

การแปรเปลี่ยนพลังงาน : stance dances

บางภาวะของชีวิต เมื่อเราเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลไกสมองจะตัดเข้าใช้ระบบปกป้อง เพื่อการอยู่รอด (survival coping stances) จะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าที 4 อย่าง ได้แก่ 1. ยอม (placating) เอาใจผู้อื่นอยู่เรื่อยไป จนลืมใส่ใจตัวเอง 2. ต่อว่า (blaming) ต่อว่าผู้อื่น สนใจแต่ตัวเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น 3. เจ้าหลักการ (super-reasonable) ยึดอยู่กับหลักการ ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึก 4. เฉไฉ (irrelevance) เบี่ยงบ่าย เปลี่ยนประเด็น ตลกกลบเกลื่อน ในขณะที่ มีงานวิจัยพบว่า ท่าทางของร่างกาย (body) นั้น ส่งผลต่อจิตใจ (mind) และ สมอง (brain) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถปรับท่าทางของเรา เพื่อแปรเปลี่ยนพลัง ออกจากการตกอยู่ในกลไกปกป้องอย่างนุ่มนวล ดังนี้ 1. ออกจากกลไก ยอม ด้วยท่าทางแบบ Powerful Tree จะช่วยให้เราโอนอ่อน ได้อย่างมั่นคง ดั่งต้นไม้ที่พร้อมโอบอุ้มผู้อื่นอย่างกรุณา 2. […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

เฝ้าสังเกต รับรู้ตามจริง : Observation

ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากมายมหาศาล และ ถูกแชร์ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เราก็ช่วยกันรณรงค์ว่า อย่าแชร์ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่จริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ไม่จริง แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไร เทคนิคหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การแยกแยะว่า ข้อมูลนั้นเกิดจากการตีความ (Interpretation, Evaluation) หรือ เกิดจากการสังเกต (Observation) การตีความ (Interpretation, Evaluation) จะประกอบด้วยการคาดเดา หรือ การตัดสินของผู้ส่งสารเข้ามาร่วมด้วย ลักษณะคำพูดที่เกิดจากการตีความ เช่น “คุณมาสายนะ” มักสร้างความรู้สึกไม่ดีนักต่อคนฟัง เช่น อาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกต่อว่า การสังเกต (Observation) คือ การระบุเวลา สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริง แทนที่จะพูดว่า “คุณมาสายนะ” ก็สามารถพูดแบบสังเกตตามจริงไปว่า “ตอนนี้ 7 โมง ฉันคิดว่าคุณจะมาถึงตอน 6 โมง” รวมถึงการพูดความคิดเห็นของตัวเองออกไปอย่างรับผิดชอบ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่า พวกเขาจะชนะในการแข่งขัน” นี่ก็ถือว่าเป็นการพูดจากการสังเกตตามจริง เพราะคำพูดเกิดจาก การสังเกตความคิด […]

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

ความสวยงามของความต้องการ : the beauty of human needs

ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดจากความเข้าใจในความต้องการของกันและกัน และ ความพอใจเกิดขึ้นเมื่อความต้องการนั้นได้รับการตอบสนอง แต่หากความต้องการของแต่ละคนมีหลากหลาย และ ดูเหมือนจะเริ่มแตกต่าง แปลกแยกไปคนละเส้นทางกัน เราจะดูแลความสัมพันธ์อย่างไร ฉันต้องการกิน ฉันต้องการเที่ยว ฉันต้องการอ่านหนังสือ ฉันต้องการนอน ฉันต้องการดูหนัง ฉันต้องการฟังเพลง แท้จริงความต้องการเหล่านี้ อาจหมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ต้องการ…พักผ่อน ในการบอกความต้องการในชีวิตประจำวัน มักผสมโรงอยู่ด้วย PLATO PLATO คือ คำพูดที่ชี้ชัดถึงตัวบุคคล (person), ชี้ชัดถึงสถานที่ (location), ชี้ชัดถึงวิธีการ (action), ชี้ชัดเวลา (time) และ ชี้ชัดถึงวัตถุสิ่งของ (object) ประโยคการร้องขอ หรือ บ่งบอกความต้องการ ที่ปราศจาก PLATO คือ ความต้องการที่จริงแท้ ภรรยา : ฉันต้องการให้เธอซักผ้าให้ฉันในวันนี้ ประโยคที่เต็มไปด้วย PLATO นั้น สร้างความรู้สึกอึดอัดแก่คนฟัง ความต้องการที่แท้จริงของประโยคนี้ อาจคือ “ความสะอาด” การสืบค้นสู่ความต้องการที่จริงแท้ ช่วยเปิดโอกาสให้กับการค้นพบวิธีการใหม่ๆ ที่อาจตอบสนองตรงความต้องการได้เช่นเดียวกัน […]

การซื่อตรงกับความรู้สึก : integrity of feeling

สมรภูมิของชีวิตที่ต้องคิดสืบสาวหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา ทำให้ “ความรู้สึกของเรา ถูกฉาบไว้ด้วยความคิด” บางครั้งเราจินตนาการด้วยการอุปมาอุปมัย แล้วบอกความรู้สึกของเราออกมาเป็นภาพ บางครั้งเราคิดด้วยข้อมูลความรู้ที่มี ผสมคลุกเคล้าเข้ากับความรู้สึกแล้วพูดออกมาเป็นบทวิเคราะห์ เราเฉไฉออกจากความรู้สึกที่แท้จริงอย่างไม่รู้ตัว “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังอยู่ท่ามกลางทะเลทราย” “ฉันรู้สึกว่า ฉันกำลังได้รับประโยชน์จาก…” “ฉันรู้สึกว่า ผลงานครั้งนี้ยอดเยียมมากเลย…” เหล่านี้ ไม่ใช่ความรู้สึก ถึงแม้ว่าเราจะพยายามขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า “ฉันรู้สึกว่า…”   ในขณะที่การเพ่งโทษไปที่ผู้อื่น ไปที่สิ่งอื่น ยิ่งห่างไกลการสัมผัสรับรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง “ฉันรู้สึกว่า เธอกำลังควบคุมฉัน” “ฉันรู้สึกว่า ถ้าจะให้ดีเธอควรแก้ไขเกี่ยวกับ…” “ฉันรู้สึกว่า อะไรก็ได้ แล้วแต่เธอ” ความรู้สึก คือ อะไรที่ง่ายกว่านั้น และ ตรงไปตรงมา เช่น ภูมิใจ รัก คิดถึง เป็นห่วง เหนื่อยใจ สับสน อึดอัด หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโห ตื่นเต้น ดีใจ มีความสุข มีทิศทางการสืบค้นเข้าหาภายในใจตนเอง เมื่อเราสัมผัสและสื่อสารถึงความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่นได้อย่างซื่อตรง (identify and express feelings) […]

กระบวนการสะท้อนตัวตน : group process

มนุษย์หนึ่งคนมีบทบาทมากมาย เช่น เป็นคุณพ่อ เป็นคุณลูก เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม เป็นนักเรียน เป็นคุณครู การเป็นอยู่ในสังคม ได้แบ่งกลุ่มมนุษย์ออกจากกันด้วยศักดิ์ (rank) การแบ่งแยกนี้ ยังคงเกิดขึ้นเงียบๆ ในยุคที่ไร้วรรณะ แต่จะแสดงผลออกมาคล้ายกันอย่างเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า เราได้รับเกียรติเพียงพอ หรือว่า เรากำลังไม่ได้รับเกียรติเพียงพอ จนอาจเกิดสภาวะต่อต้านขึ้น เมื่อเผลอไปยึดถือเอาบทบาทอย่างเหนี่ยวแน่นในห้วงเวลาที่ควรจะปล่อยวาง เผลอไปยึดถือเอาโครงสร้างแห่งศักดิ์ (rank) มาค้างคา ในห้วงเวลาที่ควรจะเปิดใจกว้าง สร้างมิตรภาพ และ ความเท่าเทียม ศักดิ์ (rank) ประกอบด้วย 4 มิติ มิติทางสังคม (social rank) มาจากการให้คุณค่าทางสังคม ส่งผลต่อการมอบสิทธิพิเศษกับบางคนมากกว่า บางคนน้อยกว่าในสังคม เช่น สีผิว, เพศ, การเงิน, วัตถุนิยม, สุขภาพ, ศาสนา, วัยวุฒิ, คุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ, ตำแหน่ง และอื่น ๆ มิติทางจิตวิทยา (psychological rank) […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]