Category Archives: 05 Wisdom

ผู้นำกระบวนการ ตอน Recognize : Facilitative Leadership Chapter 4

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model R : Recognize เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการใน PURE Management Model การให้การยอมรับ ชื่นชมกัน จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร รู้สึกมีตัวตน แต่ไม่ปกป้องตัวตน พูดคุยแบบให้ทุกฝ่ายมีที่ยืน ไม่ตัดสินถูกผิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในบรรยากาศสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ กล้าริเริ่ม เหนี่ยวนำให้เกิดการขยายกรอบความเชื่อ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อเรายอมรับชื่นชมกัน (Recognize) ได้ถี่บ่อยกว่าการให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) การให้ข้อเสนอแนะก็จะมีคุณภาพ คำพูดของเราจะน่ารับฟัง น่านำไปปฏิบัติ อุปมากล่องของขวัญใบเล็ก ได้วางอยู่บนฐานที่มั่นคง ฐานนั้นต้องกว้างกว่ากล่องของขวัญ กล่องของขวัญ ก็คือ การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) ส่วนฐานนั้น คือ ยอมรับชื่นชมกัน (Recognize) โดยปกติมนุษย์มีธรรมชาติที่จะสนใจในเรื่องเชิงลบ ตามสัญชาตญาณการอยู่รอด เราเรียกอคติเช่นนี้ ว่า […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

ก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย : Expand Your Comfort Zone

คุณสมบัติหนึ่งที่ผู้บริหารมีคือ การเข้าใจคนที่ทำงานอยู่ในหลายๆ ตำแหน่ง และก็จะช่วยได้มากหากเราเคยมีประสบการณ์ทำงานในหลายๆ ตำแหน่งมาก่อน หรือ ได้มีโอกาสพูดคุยสนิทสนมกับคนในหลายๆ ตำแหน่ง หลายๆ ฝ่าย หลายๆ วัย การฝึกที่จะเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การฝึกทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ การพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ สิ่งที่เราต้องการในการเผชิญความไม่คุ้นเคยก็คือ การออกนอกความคุ้นเคย (Comfort Zone) ในระดับที่พอเหมาะพอดี ไม่มากเกินไปจนเกิดอาการตื่นตระหนก (Panic Zone) การค่อยๆ ขยับจากความคุ้นเคยออกมา สู่การทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยที่ละนิด รู้สึกท้าทาย ในขณะที่ก็สามารถที่จะปล่อยวางจากผลลัพธ์ว่าจะต้องออกมาดูเก่ง ดูดี ดูฉลาด ดูถูกต้อง อย่างที่เราทำในสิ่งที่ถนัด เรียกพื้นที่ความท้าทาย ที่รู้สึกสบายใจเช่นนี้ว่า พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เป้าหมายของการก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การขยายศักยภาพใหม่ๆ ให้กับชีวิต ด้วยการสังเกตอาการอึดอัดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นไปอย่างใจ อาจมีเสียงเล็กๆ ภายในของเราเอง (Inner Voice) ที่คอยให้เหตุผลต่างๆ นานา เพื่อให้เราย้อนกลับไปทำแบบเดิมๆ กลับไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยอย่างเก่า เมื่อเราเท่าทันเสียงต้านทานภายในของเราเอง […]

การพัฒนาด้านอารมณ์ : Emotional Development

เหตุการณ์ (Event) ที่เราพานพบเจอะเจอ บางเหตุการณ์เราก็ชอบ บางเหตุการณ์เราก็อาจจะไม่ชอบ เป็นสิ่งที่เราไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ครับ สิ่งที่เราควบคุมเลือกทำได้ คือ จะตอบสนอง (Response) ต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไร เพราะฉะนั้น หากเราต้องการผลลัพธ์ (Outcome) ที่แตกต่าง หรือ เป็นไปตามที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะทำได้ คือ การเลือกตอบสนอง (Response) อย่างดีที่สุด แต่ไม่ใช่การไปเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ (Event) ครับ Event * Response = Outcome เป็นสมการง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาอธิบาย เรื่องราวความเป็นไปในชีวิต และ การทำงานของเราได้อย่างดีเยี่ยมครับ นอกจากนี้ ยังพบว่าอารมณ์ภายในจิตใจของเรา ส่งผลต่อการตอบสนอง (Response) ในชีวิตประจำวันของเราด้วยครับ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1. การรับรู้ (Perception) 2. เจตนา (Intention) โดยที่ การรับรู้เชิงบวก มีผลต่อการตอบสนองเชิงบวก (Response) […]

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชุดความรู้ใหม่ขึ้นจากภายในจิตใจของผู้เรียนเอง ชุดความรู้ใหม่นั้นอาจหมายถึง มุมมองใหม่ ความหมายใหม่ ความรู้สึกใหม่ ความคุ้นชินใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความเชื่อใหม่ องค์ประกอบสำคัญของการนำพากระบวนการเรียนรู้ โดย ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเปิดใจพร้อมเรียนรู้ รู้สึกถึงการมีตัวตนแต่ไม่ปกป้องตัวตน เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เสียงเล็กๆ จากภายในที่เคยผุดขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนในลักษณะที่ว่า สิ่งนี้ใช่-สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้ชอบ-สิ่งนี้ไม่ชอบ รวมถึงเสียงความคิดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความกลัวภายในจิตใจ จะค่อยๆ หายไป ผู้เรียนจะเริ่มดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่คุ้นชินทีละเล็กทีละน้อยเพื่อการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ภายในจิตใจของตนเอง บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยนั้น มีลักษณะที่ผ่อนคลาย สบายๆ มีความรัก ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ‘ประตูใจ’ ของผู้เรียนจะเปิดกว้างออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ถึงระดับจิตใจ บางทีเราอาจเรียกการเรียนรู้ระดับจิตใจว่าเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจ (Soft Skills) หรือ การบริหารด้านจิตใจ (Soft Side Management) […]

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ : Integral Mathematics by Ken Wilber

คณิตศาสตร์บูรณาการ โดย เคน วิลเบอร์ Integral Mathematics by Ken Wilber . ผลงานของ Ken Wilber เป็น Soft Skills ที่ลึกล้ำมาก การจะเข้าใจให้ได้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกัน แต่พอเราเข้าใจในส่วนไหนอย่างถ่องแท้ ก็จะพบว่ามันคือพื้นฐานที่ดีมาก ๆ ในการต่อยอดสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ที่แน่นหนา . งานเขียนนี้ ผมเขียนแบบกระชับ ถ้าอ่านแล้วมึน ๆ นั่นถือว่าปกติแล้ว แต่ถ้ามึนมากจน “มึนติ๊บ” ให้หยุดอ่านก่อนได้ครับ ในงาน In-House Training ผมก็ไม่ได้สอนลึกถึงขนาดนี้นะ ^__^ . . จากภาพ 8 วิธีการหลัก (8 Major Methodologies) ที่ให้มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง ฟังแล้วก็งงใช่ไหมครับ ฟังซ้ำอีกที มุมมอง บนมุมมอง บนมุมมอง เอาเป็นว่ามันซ้อนกันรวมแล้วมี 3 มุมมองนะ […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เมื่อไม่เป็น ก็เป็นไปได้ : Adaptability and Possibility

แท้จริงแล้วธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา เซลล์ในร่างกายของเราเองก็แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แม้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเราอยู่ในปัจจุบัน เพียงเผลอยึดติดไว้แค่เสี้ยววินาที เราก็อาจติดอยู่ในอดีตทันที เราอาจเป็นหัวหน้างานเมื่ออยู่ที่ทำงาน พอกลับถึงบ้านเรากลายเป็นคุณพ่อแล้ว ทางเดียวที่จะดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ ก็คือการปล่อยวางออกจากความคิดว่าเราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป และ นี่ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราเป็นไปได้ทุกสิ่ง เล่าจื๊อ กล่าวว่า “เมื่อฉันปล่อยผ่านสิ่งที่ฉันเป็น ฉันจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะเป็น” (When I let go of what I am, I become what I might be.) จากภูมิปัญญาบรรพกาลสู่โลกปัจจุบัน การปรับเปลี่ยน ให้เท่าทันท่วงจังหวะของสิ่งรอบตัว ยังมีความสำคัญมาก ๆ ต่อภาวะผู้นำสำหรับองค์กร เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ไม่ใช่ความสามารถในการลังเลใจกลับไปกลับมา หรือ มีทางเลือกมากมายแต่ไม่ลงมือทำ ความสามารถในการปรับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อลองทำดู ถ้าไม่สำเร็จก็ถอยกลับมามองมุมใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีสมาธิกับเป้าหมายใหญ่ และ พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อการบรรลุในเป้าหมายนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เกินคาด เช่น มีบางสิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ […]

เปิดศักยภาพใหม่ : รู้สึกตัวในสิ่งที่เคยคุ้น ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสมือซ้าย เขาเป็นมือวางอันดับหนึ่งของโลก และ จากสถิติต่าง ๆ จนถึงตอนนี้ เขาคงเป็นตำนานไปอีกนานครับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ วิธีการฝึกซ้อมของเขาครับ ปกติแล้วเขาเป็นคนที่ถนัดมือขวา ทุกวันนี้เขายังคงเขียนหนังสือ และ แปรงฟันด้วยมือขวา แต่พอเล่นเทนนิสเขาจะใช้มือซ้าย ย้อนไปสมัยฝึกซ้อมเทนนิสเมื่อยังเด็ก เขาใช้สองมือตี แต่พอโตมาหน่อย จึงถนัดทั้ง 2 ข้างพอ ๆ กันครับ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกใช้มือข้างเดียวเป็นหลัก ลุงที่เป็นโค้ชให้กับเขาก็แนะนำว่า “ฝึกใช้มือซ้ายเป็นหลักดีกว่า” เพราะคู่แข่งส่วนใหญ่ที่ใช้มือขวา จะไม่ชินกับเรา แต่เราจะคุ้นชินกับเขา เวลาต้องเผชิญหน้ากันในสนาม ประโยชน์ของการฝึกมือซ้าย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ครับ เมื่อเราเชื่อมโยงกับเรื่องราวของสมอง ที่สมองซีกขวาควบคุมการทำงานฝั่งซ้าย และ สมองซีกซ้ายควบคุมการทำงานฝั่งขวา คนที่ถนัดมือซ้าย จำเป็นต้องฝึกใช้มือขวาไปโดยปริยาย เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้น ออกแบบมาให้กับคนที่ถนัดมือขวาครับ ส่วนคนที่ถนัดมือขวาน้อยคนนักที่จะได้ฝึกทำอะไรด้วยมือซ้าย มีงานวิจัยพบว่าคนที่ถนัดมือซ้าย สามารถทำงานที่ต้องเชื่อมโยงการใช้สมองทั้งซีกซ้าย และ ซีกขวาได้ดีกว่าคนที่ถนัดมือขวาครับ ศิลปินชื่อดังจำนวนมากถนัดมือซ้ายครับ อาทิเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี, ไมเคิล แองเจโล, ปิกัสโซ, […]

ปกป้องน้ำหนึ่งหยดจากการแห้งเหือดได้อย่างไร : SAMSARA

“ปกป้องน้ำหนึ่งหยดจากการแห้งเหือดได้อย่างไร?” เป็นคำถามจากภาพยนตร์เรื่อง SAMSARA (สังสารวัฏ) ที่ผู้เขียนได้ชมเมื่อหลายปีก่อน ในตอนท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้อาจมีคำตอบ แต่คำตอบนั้นก็ยังไม่ได้ช่วยให้ผู้เขียนเกิดความแจ่งแจ้งที่ใจ จึงทำให้ต้องกลับมาดูซ้ำ งานเขียนนี้ ผู้เขียนจะได้นำเสนอแบบเรื่องย่อ โดยบอกเล่าฉากสำคัญๆในภาพยนตร์ พร้อมทั้งการตีความเพิ่มเติม 0.01 มีพญาเหยี่ยวบินโฉบไปมาอยู่บนท้องฟ้า (ณ ลาดัค ประเทศอินเดีย พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 15,000 ฟุต) ในขณะที่กองคาราวานที่นำโดยอโป ลามะเฒ่า และ โซนาม พระลูกศิษย์ กำลังเดินทางเพื่อไปรับ ทาชิ ลามะหนุ่มที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำครบ 3 ปี 3 เดือน 3 วัน วัฒนธรรมธิเบต เปรียบเปรยว่า เหยี่ยวหรือแร้งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตายจ้องมองเราอยู่ 01.15 พญาเหยี่ยวได้โฉบลงมาจับก้อนหิน แล้วบินทะยานสูงขึ้นอีกครั้ง ก่อนปล่อยก้อนหินหล่นลงมา ภาพถ่ายจากมุมล่างขึ้นฟ้า ทำให้เห็นก้อนหินค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นๆ จนหล่นทับแกะตาย รู้สึกว่า ความตายใกล้ตัว แต่มองไม่เห็น จนกว่ามันจะคืบคลานเข้ามาปรากฏ เราจึงจะเห็น คิดถึงสำนวน “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” 8.07 คณะลามะเดินทางมาถึงถ้ำ […]