Category Archives: การเรียนรู้

wisdom,willing,feeling,thinking,brain,the fifth discipline, …

extra : foundations of mindfulness, insight-knowledge, …

การทำงานร่วมกันแบบกระจายตัว : Collaboration and Distributed Work

จะทำอย่างไร เมื่ออยู่ห่างกัน แต่ต้องไม่ห่างหายไปจากกัน ? 1. ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและบทบาท เมื่อกระจายตัวกันทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ชัด ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและอัพเดทอย่างต่อเนื่อง หากข้อมูลและการตัดสินใจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวผู้นำ ระยะทางที่ห่างไกลจะทำให้ผู้นำกลายเป็นคอขวดของทีม งานไม่สามารถไหลเวียนได้ ทุกคนจึงต้องปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ค่อย ๆ คุยกัน ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนต้องการเวลาช้าเร็วต่างกัน เพื่อที่จะวางใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ถูกความกลัวครอบงำ เมื่อมีการปรับเปลี่ยน จะเกิดงานงอกที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องมีทักษะการบริหารจัดการอารมณ์ ต้องไม่ให้เครียด เมื่อแยกกันทำงานที่บ้าน ก็ต้องหมั่นคอยดูแลความสัมพันธ์ เมื่อมีพนักงานใหม่ก็ต้องใส่ใจ จัดสรรเวลาในการทำความรู้จักกันก่อน 2. ใส่ใจต่อการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์ เจอกันน้อยลง ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้เจอกันก็ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ทำเวลานั้นให้มีความหมาย วางเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร เพื่อดำรงอยู่ร่วมกันจริง เพิ่มความใส่ใจอย่างทั่วถึง ไม่ลืมคนหนึ่งคนใด เราอาจมีภาพถ่ายร่วมกัน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นอยู่เสมอ และ หาโอกาสนัดเจอกันบ้าง นอกจากเรื่องงาน ก็ต้องเพิ่มเวลาคุยเรื่องส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ (sense of camaraderie) สร้างวัฒนธรรมที่จะติดต่อถึงกัน แม้ในโอกาสทั่วไป นอกเหนือจากตารางนัดหมายประชุมงาน นอกจากการใช้อีเมลที่จริงจังเป็นทางการ ให้เพิ่มช่องทางการติดต่อที่สร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น […]

การทำงานร่วมกัน 3 ระดับ : The Three Levels of Collaboration

การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Common Goal) จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันในทีมตามหน้าที่ (Functional Teams) การทำงานร่วมกันในโครงการที่มีกำหนดเวลา (Time-limited Project Teams) หรือ การทำงานร่วมกันข้ามสายงาน (Cross-functional Management Teams) เมื่อการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของงาน และ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมด้วย งานเขียนนี้ จะนำเสนอแนวคิดของการทำงานร่วมกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายตามบริบทของการทำงานร่วมกัน พร้อมกันนี้จะได้ให้แนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำงานร่วมกันใน 3 ระดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. Independent Collaboration มีเป้าหมายเหมือนกัน มีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมาย พ้นจากสภาวะการเกี่ยงงาน ต่างคนต่างทำอย่างอิสระ ทุกคนทำงานครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ สื่อสารกันน้อย ผลรวมของทีม เกิดจากการรวมผลลัพธ์ของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น Dealers จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ต่างคนต่างขาย และเมื่อนำยอดขายของทุก Dealers มารวมกัน ก็กลายเป็นยอดขายรวมของสินค้ายี่ห้อนั้น  อาศัยทักษะการฟังในระดับ I-in-it คือ การฟังแบบจับประเด็นได้ เพื่อให้ทราบรายละเอียดงานของตนเอง และ […]

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator

ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ : Learning Facilitator ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชุดความรู้ใหม่ขึ้นจากภายในจิตใจของผู้เรียนเอง ชุดความรู้ใหม่นั้นอาจหมายถึง มุมมองใหม่ ความหมายใหม่ ความรู้สึกใหม่ ความคุ้นชินใหม่ กระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความเชื่อใหม่ องค์ประกอบสำคัญของการนำพากระบวนการเรียนรู้ โดย ผู้เอื้ออำนวยกระบวนการ (Facilitator) คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเปิดใจพร้อมเรียนรู้ รู้สึกถึงการมีตัวตนแต่ไม่ปกป้องตัวตน เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เสียงเล็กๆ จากภายในที่เคยผุดขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนในลักษณะที่ว่า สิ่งนี้ใช่-สิ่งนี้ไม่ใช่ สิ่งนี้ชอบ-สิ่งนี้ไม่ชอบ รวมถึงเสียงความคิดต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความกลัวภายในจิตใจ จะค่อยๆ หายไป ผู้เรียนจะเริ่มดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่คุ้นชินทีละเล็กทีละน้อยเพื่อการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ภายในจิตใจของตนเอง บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยนั้น มีลักษณะที่ผ่อนคลาย สบายๆ มีความรัก ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ‘ประตูใจ’ ของผู้เรียนจะเปิดกว้างออก และพร้อมที่จะเรียนรู้ถึงระดับจิตใจ บางทีเราอาจเรียกการเรียนรู้ระดับจิตใจว่าเป็นการเรียนรู้ทักษะด้านจิตใจ (Soft Skills) หรือ การบริหารด้านจิตใจ (Soft Side Management) […]

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารใหม่ ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลทั้งการทำงานระดับบุคคลและระดับสังคม ทำให้เกิดคุณภาพด้านในจิตใจ  ด้านทักษะความสามารถ และ ด้านสังคม สามารถแสดงท่าที จุดยืน และ ตอบสนองได้ตามบทบาทอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และ ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้กับองค์กรได้ โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสจัดโปรแกรมพัฒนาด้านภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารขององค์กร (Leadership Development Program, LDP) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น เรื่อง Four Stages of Competence หรือ The Conscious Competence Learning Model ที่แบ่งขั้นตอนการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ออกเป็น 4 […]

ถ่อมตน และ บ่มเพาะ : Keep a Low Profile

ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอวลีเด็ดทางการทูตไว้ว่า “Keep a Low Profile” คำนี้คงไม่ได้หมายความให้เก็บเนื้อเก็บตัวแต่ไม่ยอมพัฒนาอะไรเลย จากการทบทวนพบว่าน่าจะหมายถึง การถ่อมตน พร้อม ๆ กับการบ่มเพาะพัฒนาจากภายใน โดยไม่รีบร้อนป่าวประกาศบอกใคร ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษามิตรภาพรอบด้าน และ เพิ่มสมาธิในการบ่มเพาะด้วย การปูพื้นฐานทางวิชาการ และ อุตสาหกรรมหนักของประเทศจีน สนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาด้วยวัตถุดิบจากภายในประเทศ เช่น พลาสติก เคมี เหล็ก และ โลหะต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี และ แบรนด์ของตนเองอีกด้วย หากเราลองหยิบยกแนวทาง “Keep a Low Profile” ของ เติ้ง เสี่ยวผิง มาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง อาจถอดเป็นยุทธศาสตร์ออกมาได้ 2 ข้อ คือ การถ่อมตน และ การบ่มเพาะ หนึ่ง.) […]

ออกรบสยบตนเอง : Fourfold Development

ขงจื้อ กล่าวว่า “ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือ ที่สุดแห่งนักรบ” (He who conquers himself is the mightiest warrior.) ที่เป็นเช่นนั้นอาจเพราะ กระบวนการด้านในของชีวิตมนุษย์ มีความโกลาหล ซับซ้อน ลุ่มลึก ยิ่งกว่าสงครามใด ๆ ผมคิดไปถึงสิ่งที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เขียนไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ท่านได้กล่าวถึงการพัฒนาชีวิตเอาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตตภาวนา และ ปัญญาภาวนา ซึ่งท่านได้เทียบเคียงเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยว่าคือ Physical Development, Social Development, Emotional Development และ Wisdom Development ตามลำดับ และ เรียกรวมกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Fourfold Development” ขอสรุปพร้อมอุปมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างกระชับในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ครับ […]

เปิดศักยภาพใหม่ : รู้สึกตัวในสิ่งที่เคยคุ้น ฝึกทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสมือซ้าย เขาเป็นมือวางอันดับหนึ่งของโลก และ จากสถิติต่าง ๆ จนถึงตอนนี้ เขาคงเป็นตำนานไปอีกนานครับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ วิธีการฝึกซ้อมของเขาครับ ปกติแล้วเขาเป็นคนที่ถนัดมือขวา ทุกวันนี้เขายังคงเขียนหนังสือ และ แปรงฟันด้วยมือขวา แต่พอเล่นเทนนิสเขาจะใช้มือซ้าย ย้อนไปสมัยฝึกซ้อมเทนนิสเมื่อยังเด็ก เขาใช้สองมือตี แต่พอโตมาหน่อย จึงถนัดทั้ง 2 ข้างพอ ๆ กันครับ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกใช้มือข้างเดียวเป็นหลัก ลุงที่เป็นโค้ชให้กับเขาก็แนะนำว่า “ฝึกใช้มือซ้ายเป็นหลักดีกว่า” เพราะคู่แข่งส่วนใหญ่ที่ใช้มือขวา จะไม่ชินกับเรา แต่เราจะคุ้นชินกับเขา เวลาต้องเผชิญหน้ากันในสนาม ประโยชน์ของการฝึกมือซ้าย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ครับ เมื่อเราเชื่อมโยงกับเรื่องราวของสมอง ที่สมองซีกขวาควบคุมการทำงานฝั่งซ้าย และ สมองซีกซ้ายควบคุมการทำงานฝั่งขวา คนที่ถนัดมือซ้าย จำเป็นต้องฝึกใช้มือขวาไปโดยปริยาย เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้น ออกแบบมาให้กับคนที่ถนัดมือขวาครับ ส่วนคนที่ถนัดมือขวาน้อยคนนักที่จะได้ฝึกทำอะไรด้วยมือซ้าย มีงานวิจัยพบว่าคนที่ถนัดมือซ้าย สามารถทำงานที่ต้องเชื่อมโยงการใช้สมองทั้งซีกซ้าย และ ซีกขวาได้ดีกว่าคนที่ถนัดมือขวาครับ ศิลปินชื่อดังจำนวนมากถนัดมือซ้ายครับ อาทิเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี, ไมเคิล แองเจโล, ปิกัสโซ, […]

เปิดพื้นที่ให้เสียงเล็ก ๆ ในการระดมสมอง : Brain Storming

กระบวนการระดมสมอง (Brain Storming) ในทางปฏิบัติแล้ว มักจะสกัดความคิดเห็นออกมาได้เพียงน้อยนิด และ บ่อยครั้งก็ไม่เวิร์คเท่ากับการแยกคิดเพียงลำพัง (Individual) สาเหตุเป็นเพราะเมื่อเรามาระดมสมองร่วมกัน ความคิดเห็นของเราจะโน้มเอียงตามเสียงบางเสียง หนึ่งความคิดเห็นในวง ได้จุดประกายความทรงจำของคนทั้งกลุ่ม ให้เข้าไปยืนบนกรอบความเชื่อเดียวกัน เสียงเล็กๆ จึงไม่มีพื้นที่ปลอดภัยเพียงพอที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกมา แนวทางที่จะทำให้การระดมสมอง (Brain Storming) ให้เวิร์ค! กว่าทีเคย แบ่งเป็น 3 ข้อครับ หนึ่ง) แยกคิดก่อนรวมกันคิด ปล่อยให้มีการแยกกันคิด (Individual) ก่อนรวมตัวกันคิด (Collective) อาจใช้เทคนิค 6-3-5 คือ ล้อมวงกัน 6 คน ให้แต่ละคนเขียนความคิดเห็นของตนเอง 3 ข้อลงกระดาษ จากนั้นส่งไปให้คนทางขวา เมื่อส่งครบ 5 ครั้ง ทุกคนในวงก็จะได้อ่านจนครบทุกความคิดเห็น เทคนิคนี้จะช่วยให้เราใช้ประโยชน์จากทั้งปัญญาแบบปัจเจก (Individual Wisdom) และ ปัญญาแบบกลุ่ม (Collective Wisdom) ซึ่งเมื่อสมดุลกันได้แล้ว จะได้ทั้งความสดใหม่ และ ความยั่งยืน สอง) ทอดเวลารอผู้อื่น […]

ฟัง และ ซึมซับ : listen and absorb

“Learn to be silent. Let your quiet mind listen and absorb.” — Pythagoras — เรียนรู้ที่จะเงียบ ปล่อยให้จิตใจได้เงียบงัน ฟัง และ ซึมซัม — ปีทากอรัส — เสียงเล็กๆ ของผู้เรียนคนหนึ่ง อาจผุดขึ้นมากลางวง ในลักษณะของคำถาม หรือ ข้อคิดเห็นที่คลุมเครือ กระบวนกรไม่จำเป็นต้องมุ่งไปคลี่คลายถ้อยคำนั้น โดยทันทีทันใดจนหมดเปลือก การซึบซับไปที่สภาวะผู้เรียน จะทำให้เรารู้ว่า อาจควรแค่ฟัง หรือ เลือกจะตอบรับเพียงแค่ว่า “น่าสนใจ และ เธอมีอะไรจะพูดเพิ่มเติมไหม” นี่คือ การดำรงอยู่ที่เต็มเปี่ยมอย่างหมดจดของกระบวนกร เสียงเล็กๆที่ผุดขึ้น อาจไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่คือการแหวกทาง ตรวจความปลอดภัย ตระเตรียมพื้นที่เล็กๆ ก่อนที่พูดอะไรอย่างซื่อตรงจากภายใน หรือ เริ่มกล้าที่จะลงมือทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นวิเศษยิ่งกว่าการมอบเทคนิควิธีการใดๆ . ฟัง และ ซึมซับ ก็คือ การสอนโดยไม่สอน […]

ความรับผิดชอบ : responsibility

ทุกความรู้สึกของเรา มีความต้องการลึก ๆ ที่ยึดมั่น ขับเคลื่อนอยู่ภายใน การรับผิดชอบต่อตนเอง คือ การค้นหาความต้องการลึกๆ เหล่านั้นจากภายในจิตใจของตนเอง ไม่ใช่การมองหาใครสักคน มารับผิดชอบอารมณ์ความรู้สึกของเรา การค้บพบความต้องการลึก ๆ ภายใน จำเป็นต้องอาศัยความสงบของจิตใจ บวกกับทักษะการใคร่ครวญ (Contemplative) ย้อนกลับมาที่ร่างกาย จิตใจตนเอง การรู้ใจตนเอง คือ การรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายความขัดแย้งจากภายใน ซึ่งแท้จริงแล้วเกิดจากการลืมเลือนจิตใจของเราเอง การออกจากพื้นที่คุ้นเคย (Comfort Zone) เพื่อก้าวสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เราอาจต้องเผชิญความไม่คุ้นชินเล็ก ๆ น้อย ๆ รู้สึกยาก รู้สึกอึดอัดอยู่ภายใน ช่วงแรก ๆ เราจะพยายามเชื่อมโยงความรู้สึกภายใน กับเรื่องราวภายนอกให้ได้ พอมันค่อยๆ แยกขาดจากกัน คือ เรื่องราวภายนอกก็ส่วนเรื่องราวภายนอก ความรู้สึกภายในก็คือความรู้สึกภายใน มันจะเหลือแต่อาการฉีกตึงข้างใน คราวนี้ ก็เพียงแค่เฝ้าดูอาการจางคาย ยิ้มเพื่อต้อนรับพื้นที่ใหม่ในจิตใจของเราเอง PURE Learning Process