Category Archives: 01 Self-awareness

1. Emotional self-awareness
2. Accurate self-assessment
Emotional strengths and weakness
3. Self-confidence
Understanding your own emotions and the emotions of others and using that knowledge, leads to workplace outcomes.
.
Awareness 4 (purpose/suitability/the domain/reality)

คำฮิตติดปาก: ข้อสังเกตว่า เราอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ – Aware your catchword

เราทุกคนอาจมีช่วงเวลาที่ติดในอดีตหรืออนาคตได้ ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร เพียงแต่ว่าบทความนี้ จะแบ่งปันข้อสังเกตที่ตัวผมเองใช้ในการฝึกฝน เพื่อให้ดำรงอยู่ในปัจจุบันได้ต่อเนื่องมากขึ้น ๆ ด้วยการสังเกต ท่าทีของตนเองต่ออดีต ต่ออนาคต และความรู้สึกนึกคิดขณะดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ครับ ท่าทีต่ออดีต เวลาที่เผลอติดอยู่ในอดีต มักจะพูดด้วยความรู้สึกเสียดายสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ติเตียนตนเองหรือผู้อื่นในทางตรงหรือทางอ้อม จึงมักพูดว่า “ฉันอุตส่าห์” “ว่าแล้ว” “เห็นมั้ย” “รู้งี้” “เป็นเพราะเขา” “เป็นเพราะฉัน” “เป็นเพราะเธอ” เวลาที่ปล่อยวางอดีตได้ มักพูดว่า “ขอบคุณ” จะมองอดีตเป็นตำราให้ได้เรียนรู้ มองอย่างลึกซึ้งในเหตุปัจจัยจนรู้สึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาได้จริง ๆ มองเห็นข้อดีในอดีต ที่จะนำไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต ท่าทีต่ออนาคต เวลาที่ติดอยู่ในอนาคต จะเชื่อว่าราวกับว่าสิ่งที่จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว ด้วยมีความคาดหวังอย่างมาก จึงมีอาการผิดหวังหรือขัดเคืองใจอยู่บ่อย ๆ แต่อีกสักพักก็จะเกิดความคาดหวังครั้งใหม่มาทดแทนของเก่า วนไปแบบนี้ แต่ไม่ลงมือทำ จึงมีคำพูดติดปากว่า “จะต้องทำแบบนี้” “ควรเป็นแบบนี้” เวลาที่ปล่อยวางอนาคตได้ จะเชื่อว่าทุกสิ่งยังเป็นไปได้ มีคำฮิตติดปากว่า “มันเป็นไปได้” ไม่เอาอดีตมาตัดสินอนาคต เป็นความเชื่อบนฐานของความจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เด่นชัด คือ จะสร้างอนาคตด้วยการลงมือทำในปัจจุบัน การดำรงอยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่อุทานว่า “นี่คือปัจจุบัน” […]

5 สิ่งที่คนเก่งต้องก้าวข้ามเพื่อความสำเร็จ : 5 Ways Smart People Sabotage Their Success

คนเก่งในที่นี้ หมายถึงคนที่เคยมีผลงานโดดเด่นในการเรียนหรือการทำงานมาในอดีต แต่พอเช็คข่าวความเป็นไปของเพื่อนเก่า ๆ ใน Facebook ก็พบว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างน่าทึ่ง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า ตัวเองได้ทำอะไรผิดพลาดอะไรไปหรือเปล่า เพราะอะไรจึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น บทความนี้ ได้พูดถึง 5 สิ่งที่คนเก่งมักจะต้องเผชิญและแนวทางในการก้าวข้าม เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ อย่างที่ควรจะเป็น หนึ่ง) การเรียนรู้สิ่งใหม่ คนเก่งไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนตนเองในบางทักษะ เช่น ทักษะด้านความสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง บุคลิกภาพ เป็นต้น เนื่องจากมองว่ายากเกินไป ให้คนอื่นทำแทน และเชื่อว่าทักษะที่ตนเองเก่งอยู่แล้วนั้น เคยทำให้ตัวเองสำเร็จมาก่อน หรือเป็นที่ยอมรับมากกว่า จึงขาดความพยายามในการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก แต่ในการทำงานจริง ทักษะเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ทางออก คือ การอาศัยจุดแข็งของตัวเอง ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยความรู้สึกแบบที่น้ำไม่เต็มแก้ว เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความสำเร็จครั้งใหม่ให้กับตัวเอง สอง) การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม มักสร้างความหงุดหงิดใจให้กับคนเก่ง เรายอมรับว่าอย่างน้อยมีแนวโน้มที่คนเก่ง จะสามารถจับประเด็นข้อมูลได้อย่างแม่นยำ พร้อมประมวลผล และมีไอเดียออกมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คนทั่วไปต้องการเวลาในการประมวลผลข้อมูลนานกว่า และเมื่อต้องแบ่งงานกันทำ ในทีม คนเก่งที่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ จะรู้สึกอยากลงมือทำงานเอง เพราะเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า […]

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization

5 เหตุผล ที่บริษัทควรฝึกอบรมด้านสติ: Mindfulness in Organization บุคคลที่มีชื่อเสียงในหลากหลายวงการ เช่น โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และ เคที เพร์รี (Katy Perry) ล้วนให้ความสนใจในเรื่องสติและสมาธิ จากงานวิจัย (Nate Klemp, 2019) พบว่า สติและสมาธิไม่ใช่เพียงส่งดีต่อระดับบุคคล เช่น ทำให้เรารู้สึกดี ช่วยให้ใบหน้าเปร่งประกาย หรือมีแสงออร่าแต่เพียงเท่านั้น แต่สติและสมาธิยังส่งผลดีต่อระดับองค์กรด้วย โดยแบ่งได้เป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. สติช่วยลดความเครียดและป้องกันอาการหมดไฟ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐาน ถึงวันนี้เราสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วที่พกพาติดตัวได้ เราสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกในทันที เกิดความสะดวกรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การมีชีวิตอยู่ในโหมด “Always on” ที่ต้องเปิดรับสิ่งกระตุ้นความเครียดตลอดเวลา พร้อมทั้งต้องเผชิญกับการแทรกแซงทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ในสภาวการณ์เช่นนี้ สติสามารถเข้ามาช่วยปรับสมดุลให้กับเราได้ […]

ผู้นำกระบวนการ ตอน Patronize : Facilitative Leadership Chapter 2

Facilitative Leadership คือ ภาวะผู้นำที่เกิดจากการประยุกต์ทักษะการนำกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน สู่ทักษะการบริหารจัดการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระหว่างการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่าน PURE Management Model P : Patronize เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการใน PURE Management Model โดยเริ่มต้นจากการอุปถัมภ์ค้ำจุน ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น จนในที่สุด ค่อยๆ ลดการให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนจากภายนอก แต่ยังคงการเชื่อมโยงถึงกันผ่านความเข้าใจ ให้โอกาสทีมงานได้สร้างสรรค์ทางเลือก ฝึกฝน และ ลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (Empower) ได้เห็นผลตามจริงในงาน ซึ่งไม่ใช่ผลจากรางวัล หรือการลงโทษ เพื่อยกระดับความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นจากภายในจิตใจ (Responsibility) อุปมาเหมือนการฝึกขี่จักยานด้วยการมีล้อเสริม ค้ำยันซ้ายขวา เพื่อช่วยในการทรงตัว เราจะใช้เพียงชั่วคราว และจะดีใจมาก เมื่อสามารถนำล้อเสริมเล็กๆ ออกไปได้ แม้เด็กๆ จะล้มลงบ้างก็คือการเรียนรู้ที่สำคัญ เฉกเช่นเดียวกับการมอบหมายงานใหม่ๆ เราต้องหลบฉาก แล้วให้ทีมงานขึ้นมาโดดเด่นที่หน้าฉาก เมื่อเราเป็นคนดูละครที่ไม่ได้เล่นเอง เราอาจรู้สึกอึดอัดจากการดำเนินการที่ช้าไป หรือเร็วเกินไป เราอยากจะเป็นผู้กำกับหนังที่เปลี่ยนบทตลอดเวลา ซึ่งนั่นใช้ไม่ได้กับละครชีวิต ที่ต้องเล่นสดๆ การขัดจังหวะระหว่างทาง รบกวนการเรียนรู้ และสร้างความหวาดผวาให้กับทีมงาน […]

ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจ : Listen with Your Heart

ผู้บริหารใหม่ มักเป็นผู้ที่บริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการงานได้อย่างเข้มข้น ในทุกนาทีจึงมีความหมาย มีความสำคัญกับงาน ทำให้บ่อยครั้ง ในเวลาที่เราต้องฟังคำพูดจากทีมงาน เราจะรู้สึกหงุดหงิด อาจเป็นการฟังเพียงเวลาสั้นๆ แค่ไม่กี่นาที แต่เราจะรู้สึกว่ามันยาวนาน เพราะเราคิดว่าคำพูดเหล่านั้นเยิ่นเย้อเกินไป ไม่เป็นไปอย่างใจของเรา ในอีกแง่หนึ่ง หากเรามองว่าการฟัง คือ ช่องทางที่เราจะทำความเข้าใจทีมงาน ไม่ด่วนสรุป ตัดสินตามชุดประสบการณ์เดิมของเรา นั่นก็จะคือโอกาสให้เรา ได้ก้าวเข้าไปข้างในหัวใจของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันให้มากขึ้น เกินกว่าเพียงแค่รับรู้ข้อมูลในงานแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การฟังยังช่วยให้ผู้บริหาร ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้นำที่ฟังเป็น สร้างความรัก ความศรัทธาต่อทีมงาน และ ยังเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีเมื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย ความสำคัญของการฟังอีกประการสำหรับผู้บริหารก็คือ เมื่อเราฟังเป็น เราจะได้รับข้อมูลอย่างรอบด้าน ทุกคน ทุกฝ่าย กล้ารายงานข้อมูลต่อเรา ในทางตรงข้ามหากเราเป็นผู้บริหาร ที่ขาดทักษะด้านการฟัง ก็จะทำให้ทีมงานบางส่วนห่างหายจากเราไป ไม่กล้ารายงานข้อมูลตามความจริง จนในที่สุด เราจะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว ก็คือด้านที่เราพอใจ จะไม่มีใครกล้าขัดใจเรา ในขณะเดียวกัน เราก็จะไม่สามารถหลอมรวมความสามารถของทีมงานได้ตามที่ควรจะเป็น แนวทางการฟังด้วยหัวใจ (Listen with Your Heart) หนึ่ง ) ปล่อยผ่านความคิด […]

ก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย : Expand Your Comfort Zone

คุณสมบัติหนึ่งที่ผู้บริหารมีคือ การเข้าใจคนที่ทำงานอยู่ในหลายๆ ตำแหน่ง และก็จะช่วยได้มากหากเราเคยมีประสบการณ์ทำงานในหลายๆ ตำแหน่งมาก่อน หรือ ได้มีโอกาสพูดคุยสนิทสนมกับคนในหลายๆ ตำแหน่ง หลายๆ ฝ่าย หลายๆ วัย การฝึกที่จะเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การฝึกทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ การพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ สิ่งที่เราต้องการในการเผชิญความไม่คุ้นเคยก็คือ การออกนอกความคุ้นเคย (Comfort Zone) ในระดับที่พอเหมาะพอดี ไม่มากเกินไปจนเกิดอาการตื่นตระหนก (Panic Zone) การค่อยๆ ขยับจากความคุ้นเคยออกมา สู่การทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยที่ละนิด รู้สึกท้าทาย ในขณะที่ก็สามารถที่จะปล่อยวางจากผลลัพธ์ว่าจะต้องออกมาดูเก่ง ดูดี ดูฉลาด ดูถูกต้อง อย่างที่เราทำในสิ่งที่ถนัด เรียกพื้นที่ความท้าทาย ที่รู้สึกสบายใจเช่นนี้ว่า พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เป้าหมายของการก้าวเผชิญความไม่คุ้นเคย ก็คือ การขยายศักยภาพใหม่ๆ ให้กับชีวิต ด้วยการสังเกตอาการอึดอัดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นไปอย่างใจ อาจมีเสียงเล็กๆ ภายในของเราเอง (Inner Voice) ที่คอยให้เหตุผลต่างๆ นานา เพื่อให้เราย้อนกลับไปทำแบบเดิมๆ กลับไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยอย่างเก่า เมื่อเราเท่าทันเสียงต้านทานภายในของเราเอง […]

การพัฒนาด้านอารมณ์ : Emotional Development

เหตุการณ์ (Event) ที่เราพานพบเจอะเจอ บางเหตุการณ์เราก็ชอบ บางเหตุการณ์เราก็อาจจะไม่ชอบ เป็นสิ่งที่เราไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ครับ สิ่งที่เราควบคุมเลือกทำได้ คือ จะตอบสนอง (Response) ต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไร เพราะฉะนั้น หากเราต้องการผลลัพธ์ (Outcome) ที่แตกต่าง หรือ เป็นไปตามที่เราต้องการ สิ่งที่เราจะทำได้ คือ การเลือกตอบสนอง (Response) อย่างดีที่สุด แต่ไม่ใช่การไปเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ (Event) ครับ Event * Response = Outcome เป็นสมการง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาอธิบาย เรื่องราวความเป็นไปในชีวิต และ การทำงานของเราได้อย่างดีเยี่ยมครับ นอกจากนี้ ยังพบว่าอารมณ์ภายในจิตใจของเรา ส่งผลต่อการตอบสนอง (Response) ในชีวิตประจำวันของเราด้วยครับ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1. การรับรู้ (Perception) 2. เจตนา (Intention) โดยที่ การรับรู้เชิงบวก มีผลต่อการตอบสนองเชิงบวก (Response) […]

ก้าวสู่โหมดท็อปฟอร์ม : Deal with Defense Mechanisms

จากเกมการแข่งขันฟุตบอลโลก World Cup Moscow ในนัดประเดิมสนามของแต่ละทีม หลายคนก็ได้เห็นฟอร์มของทีมที่ตัวเองเชียร์อยู่ รวมถึงฟอร์มของนักเตะระดับโลก อย่างเช่น โรนัลโด ทีมชาติโปรตุเกส และ เมสซี่ ทีมชาติอาร์เจนติน่าด้วย ในนัดประเดิมสนามนั้น โรนัลโด้ ซัดแฮตทริกได้อย่างสวยงาม แต่เมสซี่ เผด็จศึกจากการเตะจุดโทษไม่เข้า ฟอร์มของนักเตะแต่ละคนได้ส่งผลต่อผลการแข่งขัน ดูเหมือนว่าฟอร์มการเล่นของนักเตะนั้น สามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ เป็น 2 โหมด และเราก็มักจะเรียกกันว่า โหมดท็อปฟอร์ม และ โหมดฟอร์มตก ในชีวิตของเราก็เช่นกันครับ เราสามารถแบ่งโหมดของชีวิตเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ได้เป็น 2 โหมด คือ โหมดท็อปฟอร์ม และ โหมดฟอร์มตก เวลาท็อปฟอร์ม เราจะอารมณ์ดี ใจสบาย ทำงานได้ต่อเนื่อง เกิดผลงาน ได้มาตรฐาน ลำดับความสำคัญของงานได้อย่างดี ถึงมีงานมาก ก็รู้ว่าทำได้ทีละอย่าง มีความสัมพันธ์ที่ดี สานสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยการพูดคุยเชิงบวก ชื่นชมผู้อื่นอยู่เสมอ สร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ พร้อมทั้งยังเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างง่าย ๆ ด้วย แต่เมื่อฟอร์มตก […]

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model

โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารใหม่ ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลทั้งการทำงานระดับบุคคลและระดับสังคม ทำให้เกิดคุณภาพด้านในจิตใจ  ด้านทักษะความสามารถ และ ด้านสังคม สามารถแสดงท่าที จุดยืน และ ตอบสนองได้ตามบทบาทอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาตนเองให้สามารถบริหารจัดการตนเอง และ ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆ ให้กับองค์กรได้ โมเดลการพัฒนาผู้บริหารใหม่ : New Executive Development Model (New EDM) เกิดจากการตกผลึกจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้มีโอกาสจัดโปรแกรมพัฒนาด้านภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารขององค์กร (Leadership Development Program, LDP) ผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น เรื่อง Four Stages of Competence หรือ The Conscious Competence Learning Model ที่แบ่งขั้นตอนการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ออกเป็น 4 […]

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : Life and Career Skills

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์ การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction) บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ […]