Category Archives: การตื่นรู้

flow, mindset, brain wave, download, autonomic nervous system, defence mechanisms, …

extra : original mind, beginner’s mind, appreciate smiling, mindfulness, clear comprehension, concentration, wisdom, hindrances (sensual desire, illwill, sloth and torpor, distraction and remorse, doubt), …

ไว้วางใจในธรรมชาติ : surrender to the nature

เราไว้วางใจในธรรมชาติมากแค่ไหน อาจหมายถึงความไว้วางใจ ที่จะออกเดินทางเยี่ยงนักจาริกหลายท่านที่พบกับชีวิตใหม่ ภายหลังการเดินทางโดยไม่พกเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในที่ที่ไม่คุ้นเคย การสื่อสารผ่านภาษาใจ ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถพูดสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ การเดินทางบนเส้นทาง แห่งความไว้วางใจในธรรมชาติ ในอีกมุมมองหนึ่ง ก็คือ การหมั่นดูแลเมล็ดพันธุ์ภายในของตนเอง บ่มเพาะพลังบวก ปล่อยผ่านอารมณ์ลบ ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายใน และ เฝ้าสังเกต เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ในมุมมองนั้น แม้อาจเป็นเหตุการณ์เดิม แต่เราจะพบว่า โอกาสดีๆ ของชีวิตนั้นมีมากมาย เหมือนโลกใบใหม่ ที่เต็มไปด้วยการชื่นชม ความสำนึกคุณ การขอบคุณ และ ความโชคดี ความหวังดี และ พยายามจัดแจงให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น ให้คนนั้นทำอย่างนี้ ให้คนนี้ทำอย่างนั้น ในห้วงขณะที่ จิตใจของเรากำลังเจือปนอยู่ด้วยความอยากเสียเอง เท่ากับการเขย่าตะกอนภายในจิตใจของเราให้ขุ่นขึ้นมาแล้วดื่มกิน เราแสดงความคิดเห็นออกไปในขณะที่ใจร้อนรน การแสดงออกบนพื้นฐานเหล่านั้น อาจหมายถึง เรายังไม่ได้ไว้วางใจในธรรมชาติเดิมแท้ภายในอย่างเพียงพอ เส้นทางชีวิต มีหลากหลายหนทาง เส้นทางที่เราเดินอยู่นั้น ไว้วางใจในธรรมชาติแค่ไหน

การทำในสภาวะหนึ่ง : awareness and action

บันทึกการทำในสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หนึ่ง เต็มเปี่ยมกับปัจจุบัน ขณะทำ จะมองเห็น ซึมซาบผลสำเร็จที่บรรลุในทุกขณะ เห็นทุกการกระทำได้สิ้นสุดลงไป พร้อมผลลัพธ์ที่ไม่ต้องรอคอย เห็นแนวโน้มในปัจจุบัน ว่าคือความสำเร็จไปแล้ว ไม่ยึดติดในผล จึงไม่มีห่วงในอนาคต ไม่มีความต้องการสะสมของที่เกินพอดี ด้วยความกลัวในอนาคต  สอง มีความสุขกับการทำ ขณะทำ จะร่มรื่น ร่มเย็น มีความสงบในใจ มีความสุขขณะทำ ไม่ตัดสินตนเอง ไม่ตัดสินผู้อื่น ไม่คิดเปรียบเทียบ ไม่คิดชิงชัง ร่างกายผ่อนคลาย ยิ้มได้ง่าย เป็นที่รัก น่าเข้าใกล้ สาม เป็นมิตรกับธรรมชาติ ขณะทำ จะเป็นประโยชน์ แม้เพียงเล็กน้อยแต่รอบด้าน ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อชุมชน และ ธรรมชาติแวดล้อม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ต่อต้านธรรมชาติ มีความลื่นไหล กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ การขอบคุณอดีต ช่วยให้ชีวิตเป็นปัจจุบัน เมื่อติดในอดีต จากความรู้สึกผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ที่ทำให้ใจของเรากลับคืนสู่ปัจจุบันไม่ได้ ท่องคาถา this too shall pass (แล้วมันจะผ่านไป) […]

ความงามอันนิรันดร์ : spacetime

การมองเห็นภาพอดีต ในมุมมองใหม่ๆ ทำให้พบว่า ในแต่ละวัน นอกจากมุมมองที่เราเคยจมดิ่งกับเหตุการณ์ตามกาลเวลาในครั้งนั้นแล้ว ซึ่งอาจทำให้เราอึดอัด น้อยใจ หรือ โกรธเคือง ยังมีมุมมองอื่น ที่เราสามารถมองมันได้อย่างสบายๆ อยู่ด้วย เปรียบเหมือนเห็นภาพอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ซ้อนทับกันอยู่ในคราวเดียว การตระหนักรู้ว่ามีอีกมุมมองหนึ่ง ที่อยู่เหนือกาลเวลา การมองจากมุมนั้น ช่วยให้เราโต้คลื่นในมิติแห่งกาลเวลา โดยไม่จมดิ่งลงไป มิติแห่งกาลเวลานั้นสวยงาม ทุกอย่างแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ความแปรเปลี่ยนสร้างความหลากหลายที่สวยงามอย่างลึกซึ้ง ณ ช่วงขณะนั้น ไม่มีสิ่งใดเทียบเทียม เมื่อเห็นความงามในความแปรเปลี่ยน กาลเวลาก็มิอาจขวางกั้น ความงามอันนิรันดร์

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]

นิทานเรื่อง ธาราคีรี : restoring peace within yourself

เราทุกคน คือ ผู้ครองอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำอันยิ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สายไหลมาบรรจบกัน ? แม่น้ำสายที่หนึ่ง ชื่อ รูปธารา เป็นแม่น้ำใกล้ตัว มองเห็นได้ชัด แต่เราไม่ค่อยจะรู้จักมันดีมากนัก ? แม่น้ำสายที่สอง ชื่อ เวทนาธารา ประกอบด้วยหยดน้ำวิเศษ 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งให้ความสุข แบบที่สองให้ความทุกข์ แบบที่สามให้ความรู้สึกเป็นกลางๆ ? แม่น้ำสายที่สาม ชื่อ สัญญาธารา เป็นแม่น้ำแห่งความทรงจำในอดีต ที่สร้างคุณค่า และ ความหมายต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับอาณาจักรของเรา ? แม่น้ำสายที่สี่ ชื่อ สังขารธารา กระแสของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็เชี่ยวกราด บางครั้งก็ไหลเย็น ตลอดทั้งวัน เรามักไหลล่องตามกระแสน้ำสายนี้ อย่างไม่รู้ตัว ? แม่น้ำสายสุดท้าย สายที่ห้า ชื่อ วิญญาณธารา เป็นแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นทุกสรรพสิ่งของเมือง ยิ่งในยามที่กระแสของแม่น้ำสงบ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความจริงได้ชัด เราไม่ใช่ผู้ครองเมืองที่ดีมากนัก เพราะเรากลัวความจริงบางอย่าง […]

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]