Category Archives: การฟัง

shared vision, silent, deep listening, compassionate listening, theory-u, …

extra : soullessness state, …

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]

สนทนาสะท้อนปัญญา : run collective wisdom

สนทนาสะท้อนปัญญา แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ การสนทนาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ (productive conversation) โดยมีวัตถุประสงค์วางไว้ล่วงหน้า เพื่อเน้นหาทางออกร่วมกัน อีกแนวทางหนึ่งก็คือ ไดอะล็อกแท้ (pure dialogue) เป็นการสนทนาโดยไม่มีหัวข้อตายตัว ให้เวลา รอคอยได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบทางปัญญาแบบฉับพลัน (intuition) ปัจจัยที่เกื้อหนุนการสนทนา สังฆะ หรือ ชุมชนที่อบอุ่นนั้นเกื้อหนุนการสนทนา ชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ให้ความเท่าเทียม ไว้ใจกันอย่างเต็มเปี่ยม มีความศรัทธา เชื่อมั่นในคุรุภายใน เคารพซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน รู้สึกปลอดภัย เป็นครอบครัวเดียวกัน มีความผ่อนคลาย และ ความท้าทาย อยู่รวมกันอย่างพอเหมาะพอดี (flow state) ทักษะการฟังในวงสนทนา การฟังเริ่มต้นเมื่อผู้ฟังเปิดพื้นที่ว่างภายในใจ มีสมาธิในการฟัง อยู่กับความเงียบได้ หลอมรวมการฟังเป็นหนึ่งเดียวกับความเงียบ (listen = silent) การฟังเบื้องต้น คือ ความสามารถจับประเด็นได้ ขั้นต่อมา คือ ความสามารถในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย การฟัง คือ ทักษะที่ต้องการการฝึกฝน เพื่อให้สามารถฟังได้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระจากความอยากที่จะพูดแบบทันทีทันใด […]

เฝ้าสังเกต รับรู้ตามจริง : Observation

ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากมายมหาศาล และ ถูกแชร์ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เราก็ช่วยกันรณรงค์ว่า อย่าแชร์ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่จริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ไม่จริง แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไร เทคนิคหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การแยกแยะว่า ข้อมูลนั้นเกิดจากการตีความ (Interpretation, Evaluation) หรือ เกิดจากการสังเกต (Observation) การตีความ (Interpretation, Evaluation) จะประกอบด้วยการคาดเดา หรือ การตัดสินของผู้ส่งสารเข้ามาร่วมด้วย ลักษณะคำพูดที่เกิดจากการตีความ เช่น “คุณมาสายนะ” มักสร้างความรู้สึกไม่ดีนักต่อคนฟัง เช่น อาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกต่อว่า การสังเกต (Observation) คือ การระบุเวลา สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริง แทนที่จะพูดว่า “คุณมาสายนะ” ก็สามารถพูดแบบสังเกตตามจริงไปว่า “ตอนนี้ 7 โมง ฉันคิดว่าคุณจะมาถึงตอน 6 โมง” รวมถึงการพูดความคิดเห็นของตัวเองออกไปอย่างรับผิดชอบ เช่น พูดว่า “ฉันคิดว่า พวกเขาจะชนะในการแข่งขัน” นี่ก็ถือว่าเป็นการพูดจากการสังเกตตามจริง เพราะคำพูดเกิดจาก การสังเกตความคิด […]

องค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้: True Love

บทความนี้ เป็นการสรุปความเข้าใจจากการอ่านหนังสือรักแท้ (True Love) โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ หลวงปู่กล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ในแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิต 4 องค์ประกอบของพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา (Maitri) กรุณา (Karuna) มุทิตา (Mudita) และอุเบกขา (Upeksha) คือรากฐานขององค์ประกอบ 4 ประการของรักแท้ ที่จะนำเสนอในบทความนี้ ❤️ ประการที่หนึ่ง ความเข้าใจ ความรักด้วยความเมตตา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แต่หมายถึงการนำความสุขกลับมาที่ใจของเราด้วย หากเราใจของเราไม่มีความสุข เราอาจทำให้อีกคนหนึ่งเป็นทุกข์ได้ ถ้าเราต้องการมอบความรักและความสุขให้กับผู้อื่น เราจำเป็นต้องฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจในตัวเขาได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าใจเราจึงสามารถมอบความรักและความสุขให้กับเขาได้ ความเข้าใจจึงคือสาระสำคัญของความรัก ❤️ ประการที่สอง การฝึกฝน ความกรุณา ไม่ใช่เพียงปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์หรือทุกข์น้อยลง แต่คือความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้จริง ๆ ด้วยการฝึกการมองอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความทุกข์ของคนผู้นั้น เมื่อเราเข้าใจเราจึงช่วยเขาให้พ้นจากความทุกข์ได้ การฝึกฝนเพื่อที่จะเข้าใจ ก็คือการฝึกสมาธิของเรา เมื่อเรามีสมาธิเราจะมองได้อย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของสิ่งต่าง ๆ ❤️ ประการที่สาม ความสุข […]

รันกระบวนการ งานกระบวนกร : run wisdom process

กระบวนกร (facilitator) คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ กระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) คือ ผู้นำพากระบวนการเรียนรู้ เหนี่ยวนำให้เกิดการค้นพบสรรพวิชาจากด้านใน เกิดการก้าวพ้นข้อจำกัด ขยับขยายพื้นที่ของจิตใจ โดยที่สุดแล้ว กระบวนกร คือ ผู้นำพาให้เกิดชุมชนที่ทุกคนฝึกปฏิบัติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (community of practice) งานเขียนนี้ ผู้เขียนได้ตกผลึกกระบวนท่าพื้นฐานสำหรับการรันกระบวนการ จากประสบการณ์ตรงในการเป็นกระบวนกรแบบจิตตปัญญา (contemplative facilitator) แบ่งกระบวนการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ รู้ (comprehension) ละ (abandonment) เห็น (realization) และ ทำ (practices) RUN WISDOM PROCESS หนึ่ง) รู้ : comprehension สร้างพื้นที่ปลอดภัย มีชุมชนแห่งความกรุณา (compassionate community) โอบรับการเรียนรู้ จากนั้นนำพาผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ เผชิญความไม่คุ้นชิน ที่พอเหมาะพอดี […]

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

บวชเป็นพระซะทีดีมั๊ย : wholesome thoughts

แบ่งปันประสบการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน ที่เคยได้มีโอกาสบวชเรียน ในโครงการอุปสมบทพระสงฆ์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ปี 2556 โดย ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระวิปัสสนาจารย์ จำพรรษาที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 4 ต.บ้านซุ้ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับนามทางธรรมว่า “ธีรัญญ์ สุธโร” งานเขียนนี้ เขียนขึ้นจากคำเชิญชวนของพี่ “ปรีชา แสนเขียว” จากยุวพุทธิกสมาคมฯ พี่ปรีชาเชิญชวนให้เขียนแบ่งปันเรื่องราว ว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมโครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรมจำพรรษา เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจบวชในรุ่นปี 59 และ รุ่นต่อๆ ไป เมื่อเขียนเสร็จแล้วรู้สึกว่า งานเขียนนี้จะเป็นแรงบันดาลใจกับทุกคนที่ได้อ่าน กระตุ้นความคิดดีๆ (wholesome thoughts) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งด้วยครับ การบวชเรียน มีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร ? 1. สงบเบา คล่องตัว (thought free from selfish […]

กระบวนกรในบทบาทผู้ให้คำปรึกษา : facilitator as counselor

ในวิถีจริงของกระบวนกร เมื่อกระบวนกรมีประสบการณ์ในการลงพื้นที่ทำงานกับชุมชนมากพอ รวมถึงเมื่อกระบวนกรมีความมั่นคงภายในตนเอง (self-awareness) จนสามารถประเมินสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ กระบวนกรผู้นั้นจะสามารถขยับขยายบทบาทของตัวเองออกไป จากการเป็นเพียง วิทยากรกระบวนการ (facilitator) ซึ่งโดยทั่วไปจะดำรงบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ต่อยอดสู่การเป็นกระบวนกรนักบำบัด (facilitator as a therapist) ซึ่งอาจใช้กิจกรรมศิลปะบำบัด (art therapy) เข้ามาในกระบวนการเรียนรู้ มากไปกว่านั้น อาจขยับขยายสู่บทบาทของการเป็นกระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา (facilitator as  a counselor) มีทักษะการฟังอย่างกรุณา (compassionate listening) และ อาจเชี่ยวชาญลึกซึ้งในโลกด้านในของมนุษย์ จนสามารถเป็นกระบวนกรผู้เยียวยา (facilitator as a healer) คลี่คลายปม (trauma) สำคัญๆ ที่เป็นอุปสรรคในชีวิตได้ งานเขียนนี้จะเขียนถึง “กระบวนกรผู้ให้คำปรึกษา” โดยเขียนจากประสบการณ์งานกระบวนกรของผู้เขียน หลอมรวมเข้ากับทฤษฎีจิตวิทยาการให้คำปรึกษา (counseling) ที่ได้เรียนรู้กับโค้ชจิ๊บ จารุวดี ปวรินทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษา (counseling) หมายถึง ขบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาใช้ความสามารถ และ คุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับชีวิตของตนเองได้ เช่น สามารถตัดสินใจได้เอง และ แก้ปัญหาการขัดแย้งทางอารมณ์ได้ (Tayler, […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]