Category Archives: การโค้ช

listening, questioning, inquiry, capturing, feedback, reflection, fulfillment, balance, process, …

extra : intuition, …

คุรุภายใน และ ความย้อนแย้ง : inner teacher and paradox

การดำรงอยู่เพื่อคนตรงหน้า อย่างมีคุณภาพ (quality of time) เกื้อหนุนให้เกิดการเติบโตทางจิตวิญญาณร่วมกัน ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานว่า ทุกคนมีคุรุภายใน (inner teacher) คุรุภายในของทุกคนมีลักษณะที่ขี้อาย (shy soul) คุรุจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ไม่ถูกกดทับ ด้วยคำพูดที่กดข่ม ได้แก่ คำพูดด้วยท่าทีการสั่ง การสอน การตัดพ้อ การสอบสวน การกดข่ม การดูถูก การเหนือกว่า การเฉไฉ การละเลย รวมถึงการเห็นใจ ซึ่งคำพูดในลักษณะดังกล่าวมา มักจะเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ปรุงแต่ง ปะปนความเห็นส่วนตัว ด้วยไม่ศรัทธา ไม่ไว้วางใจอย่างแท้จริงในคุรุภายในตัวผู้อื่น การเติบโตภายใน (inner work) จะเกิดขึ้นจากท่าทีเชื้อเชิญ ไม่ใช่การบังคับ ควบคุม ลักษณะถ้อยคำที่จะเกื้อหนุนให้เกิดคุรุภายใน (inner teacher) คือ คำถามที่จริงใจ สั้นกระชับ ใช้คำถามปลายเปิด โดยไม่รีบเร่งเอาคำตอบ ไม่กะเกณฑ์คาดหวังผลคำตอบล่วงหน้า “คุณกำลังรู้สึกอย่างไร?” นอกจากนี้ การดำรงอยู่ในวงสนทนาได้อย่างซื่อตรง คือ การสัมผัสถึงความรู้สึกของตนเองได้อย่างซื่อตรง แล้วบอกเล่าออกมา โดยไม่ปรุงด้วยความคิดจินตนาการ ใช้คำพูดและคำถามที่มุ่งขยายผลสู่ด้านใน […]

กุศโลบายคลายทุกข์ : no mud no lotus

“ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่มันก็ยังประกอบด้วยสิ่งอัศจรรย์มากมาย หากเธอปรารถนาที่จะสัมผัสกับความอัศจรรย์แห่งชีวิต จงกลับมาสู่ปัจจุบันขณะ – Thich Nhat Hanh”  ความสุขอันอัศจรรย์นั้นมีอยู่แล้ว ในโลกแห่งปัจจุบันขณะ เพียงแต่ความคิดของเรา ทำให้เราติดอยู่ในโลกแห่งอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรือไม่ ก็ล่องลอยไปในโลกแห่งอนาคต ดูผิวเผินเหมือนว่าความคิดนำพาเราไป แต่แท้จริงแล้วตัวเรานั่นเองที่กระโจนลงสู่กระแสแห่งความคิด กีดกันไม่ปล่อยให้กระแสความคิดได้ไหลผ่านไป และ ความคิดนี่เองที่นำมาสู่ความทุกข์ในชีวิตประจำวันของเรา ผู้เขียนจึงขอเสนอ “กุศโลบายคลายทุกข์” ตามเหตุแห่งทุกข์ (the cause of suffering) ได้แก่ ความอยาก (craving) ความยึด (attachment) ภาวะชีวิต (becoming) กุศโลบายคลายทุกข์ คือ การเข้าไปทราบถึงเหตุแห่งความทุกข์ แล้วเลือกใช้กุศโลบายที่เหมาะสม เพื่อนำพาชีวิตให้กลับคืนสู่สมดุล เกิดความรู้สึกที่โล่งสบาย เป็นอิสระจากความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ งานเขียนนี้ นอกจากจะนำเสนอกุศโลบายคลายทุกข์เป็นแนวคิดสั้นๆ ยังขยายความด้วยกระบวนการสำหรับงานกระบวนกรด้วย รายละเอียด ดังต่อไปนี้เลย 1. ทุกข์เพราะอยาก (craving) เรื่องราวความทุกข์ที่พัวพันกับสิ่งภายนอก ประมาณว่าอยากได้มาแต่ยังไม่ได้ อยากผลักไสออกไปแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ทำให้เกิดเป็นความคิดฟุ้งซ่าน สับสน ไร้ทิศทางที่ชัดเจน ศักยภาพความคิดอ่อนกำลัง กระบวนการด้านเหตุผลอ่อนกำลัง ทำให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ควานหาเป้าหมายไม่เจอ แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด ไม่รู้ข้อดีของตัวเอง เป้าหมายไม่ชัดเจน […]

การสื่อสารที่จริงแท้ : Authentic Communication

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การสื่อสาร ได้แบ่งแยก ผู้ส่งสาร (sender) และ ผู้รับสาร (receiver) ออกจากกัน ในขณะที่การสื่อสารที่จริงแท้นั้น คือ การดำรงอยู่ร่วมกัน ทุกคนเป็นผู้ส่งสาร และ ทุกคนเป็นผู้รับสาร ในห้วงขณะเวลาเดียวกัน ในสถานการณ์ของการพูดคุย เมื่อผู้พูดดำรงอยู่กับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ผู้พูดจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย ผู้พูดจึงเป็นผู้รับสารอยู่ด้วยแม้ในขณะเวลาที่พูด ส่วนผู้ฟังแม้ไม่ได้พูด ก็แสดงออกอยู่ตลอดเวลาด้วยอวัจนภาษา (non-verbal) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (feeling) หากผู้พูดสัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้ฟังก็กำลังเป็นผู้ส่งสารถึงผู้พูดอยู่ด้วยเช่นกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) คือ การสร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจของผู้สื่อสาร ไม่กะเกณฑ์ให้การสื่อสารดำเนินไปตามทาง จนสรุปจบลงตามความคิดเห็นของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และ เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินคาดได้ การเปิดใจกว้างจะส่งผลต่อบรรยากาศในการสื่อสาร เกิดพื้นที่ว่างแห่งความปลอดภัย ให้แต่ละคนกล้าที่จะเปิดเผยตัวตนอันจริงแท้ออกมา ซึ่งจะช่วยขยับขยายความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จัดวางความสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม เกิดความไว้วางใจต่อกัน เห็นคุณค่าของกันและกัน ให้เกียรติกัน ช่วยคลี่คลายความขัดแย้ง และ เกิดบรรยากาศแห่งความสุขในการดำรงอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่จริงแท้ (authentic communication) ประกอบด้วย การเชื่อมความสัมพันธ์ (connect and build rapport) การฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ศิลปะแห่งการพูด (the art of speech) […]

กระบวนกร สะท้อนธรรม สำหรับโค้ช: The Art of Living

งานครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมีทักษะการโค้ช การฟัง และ พื้นฐานของสติที่ดี ซึ่งเกื้อหนุนให้เกิดการสะท้อนร่วมกัน เกิดเป็นวงสนทนาแห่งสติได้ไม่ยาก การให้ห้องเรียนแรก คือ ตัวของผู้เรียนเอง จึงทำให้การเรียนรู้ลงสู่ฐานใจได้ง่าย บวกกับการเชื้อเชิญให้ผู้เรียนเป็นมิตรกับความเงียบด้วยถ้อยคำว่า “เราคือส่วนหนึ่งของความเงียบ” ได้ช่วยลดการครุ่นคิดแบ่งแยกในระหว่างความเงียบ ผู้เรียนจึงดำรงอยู่ในความเงียบ ได้แบบลื่นไหล เป็นช่วงเวลาที่ได้ใคร่ครวญลงสู่ฐานใจ แทนที่จะพยายามทำลายความเงียบนั้น ปัญญาในวงสนทนาจึงเป็นอิสระ เกิดการเรียนรู้ที่ขยายจากห้องเรียนของตัวเอง สู่การเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนของแต่ละคน (Collective Intelligence) ปรากฏการณ์นี้ จะยังคงเกิดขึ้น แม้สิ้นสุดเวลาของ Workshop ไปแล้ว กระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการจับประเด็น ในช่วงที่ผู้เรียนรู้ Check-in บอกเล่าถึงความเข้าใจ และ ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับคำว่า “The Art of Living” สรุปได้คำสำคัญต่าง ๆ คือคำว่า “ครูกระบวนกร”, “สุนทรียสนทนา”, “อัตตา”, “ความเงียบ”, “ฐานใจ” และ “ความตาย” แล้วนำเอาคำต่าง ๆ ที่ได้มาจากช่วง Check-in มาเรียบเรียงเป็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอบคุณห้องเรียนทุกห้อง […]

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

การโค้ชวิถีไทยพลังบวก : Appreciative Inquiry Coaching

การเข้าร่วมเรียนรู้ศาสตร์ศิลป์หลายแห่ง สลับกับการออกงาน รับใช้วงการฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ พร้อมทั้งธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ ที่เป็นน้ำทิพย์หล่อเลี้ยงให้ชีวิตเป็นอิสระ ก็เติบโตก้าวหน้า ทำให้เวลาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเดินทางไปไวมาก รู้สึกได้เลยว่า การค้นพบเป้าหมายของการเกิดมามีชีวิต ชัดเจนขึ้นแล้ว ก็ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีก งานเขียนนี้ ขอเท้าความย้อนไป 2 สัปดาห์ก่อน ในวันเสาร์ ที่ 3 ตุลาคม 2558 กับการเรียนรู้หลักสูตรการโค้ชวิถีไทย (Thai Coach) รุ่นที่ 6 โดย สมาคมการโค้ชวิถีไทย เป็นการเรียนครั้งที่ 3 จากทั้งหมด 9 ครั้งตลอดหลักสูตร ครั้งนี้มาเรียนรู้ในหัวข้อ การโค้ชวิถีไทยพลังบวก (Appreciative Inquiry Coaching) กับ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ เหมือนเช่นเคยนะครับว่า ผู้เขียนจะเขียนสรุปบทเรียนตามอำเภอใจ ผสมผสานความเข้าใจส่วนตัวเพื่อการพัฒนาฝึกฝนเป็นประโยชน์ต่อตนเองต่อไป ผู้อ่านจึงควรพิจารณาใคร่ครวญให้เกิดประโยชน์กับตน เช่นกัน Flow Theory องค์ความรู้ที่สำคัญมากในครั้งนี้ คือ เรื่องการสร้างสมดุลให้กับตัวเอง จนเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า Flow ซึ่งจะทำให้ชีวิตเข้าสู่โหมดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดำรงอยู่ […]

ทักษะการโค้ชบนพื้นฐานสติ : Mindfulness Based Coaching Skills

วันเสาร์ ที่ 19 กันยายน 2558 เป็นอีกหนึ่งวันที่ได้รับความรู้ด้านการโค้ชอย่างทะลักทะล้น พร้อมกับการฝึกฝนทักษะการโค้ชควบคู่กันไปด้วย ในระหว่างที่ฝึกฝนนั้นก็ได้ตกผลึกความคิดเพื่อการฝึกฝนครั้งต่อไปเช่นกัน จึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องรีบจัดระเบียบข้อมูลความรู้ในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะการโค้ช ให้เป็นไปอย่างลื่นไหล เหมือนกับได้ฝึกเล่นกีตาร์ ในขั้นที่จับคอร์ดเป็นบ้างแล้ว ความสนุกในการฝึกย่อมบังเกิด พัฒนาการในการฝึกย่อมเพิ่มพูนอยู่ทุกขณะเช่นกัน ^^ การเรียนรู้ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 จากทั้งหมด 9 ครั้ง ในหลักสูตร Thai Coach รุ่นที่ 6 โดย สมาคมการโค้ชวิถีไทย หัวข้อการเรียนรู้ คือ ทักษะการโค้ชบนพื้นฐานสติ (Mindfulness Based Coaching Skills) กับ อ.รงค์ จิรายุทัต และ ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข  ครั้นจะเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่ได้เรียนรู้ ก็คงจะต้องเขียนแบ่งย่อยเป็นหลายบทความมาก บทความนี้ จึงจะเขียนในแง่มุม ช็อตเด็ดๆ ที่สติ (Mindfulness) เข้าไปมีส่วนสำคัญในการโค้ช ตามกระบวนการโค้ชวิถีไทย (Thai Coaching Process) ผสมผสานองค์ความรู้เพื่อการฝึกฝนของผู้เขียนเอง Building […]

จิตวิญญาณของการโค้ชวิถีไทย : The Spiritual Law of Thai Coaching

หลักสูตร Thai Coach ครั้งที่ 6 จัดโดย สมาคมการโค้ชวิถีไทย แบ่งการเรียนรู้เป็น 8 ครั้ง (เรียนวันเสาร์เว้นเสาร์) และ เมื่อเรียนครบ 8 ครั้งแล้ว จะได้ไปฝึกปฏิบัติเจริญสติเพื่อการโค้ช (Mindfulness Coaching Practice) เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ณ ศูนย์วิปัสสนาสากล ที่บ้านไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย กับท่าน ว.วชิรเมธี ส่วนนี้เองเป็นแรงดึงดูดสำคัญเบื้องต้น ที่ทำให้ผู้เขียนประทับใจ เอะใจ และ ตัดสินใจเข้าร่วมเรียนรู้ในครั้งนี้ การเรียนรู้ครั้งที่ 1 จิตวิญญาณของการโค้ชวิถีไทย (The Spiritual Law of Thai Coaching) วันเสาร์ ที่ 5 กันยายน 2558 ความรู้สึกก่อนเรียนรู้ รู้สึกปลอดภัย เมื่อทราบว่าสโลแกนของ Thai Coach คือ […]