Monthly Archives: October 2017

ฟัง และ ซึมซับ : listen and absorb

“Learn to be silent. Let your quiet mind listen and absorb.” — Pythagoras — เรียนรู้ที่จะเงียบ ปล่อยให้จิตใจได้เงียบงัน ฟัง และ ซึมซัม — ปีทากอรัส — เสียงเล็กๆ ของผู้เรียนคนหนึ่ง อาจผุดขึ้นมากลางวง ในลักษณะของคำถาม หรือ ข้อคิดเห็นที่คลุมเครือ กระบวนกรไม่จำเป็นต้องมุ่งไปคลี่คลายถ้อยคำนั้น โดยทันทีทันใดจนหมดเปลือก การซึบซับไปที่สภาวะผู้เรียน จะทำให้เรารู้ว่า อาจควรแค่ฟัง หรือ เลือกจะตอบรับเพียงแค่ว่า “น่าสนใจ และ เธอมีอะไรจะพูดเพิ่มเติมไหม” นี่คือ การดำรงอยู่ที่เต็มเปี่ยมอย่างหมดจดของกระบวนกร เสียงเล็กๆที่ผุดขึ้น อาจไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่คือการแหวกทาง ตรวจความปลอดภัย ตระเตรียมพื้นที่เล็กๆ ก่อนที่พูดอะไรอย่างซื่อตรงจากภายใน หรือ เริ่มกล้าที่จะลงมือทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นวิเศษยิ่งกว่าการมอบเทคนิควิธีการใดๆ . ฟัง และ ซึมซับ ก็คือ การสอนโดยไม่สอน […]

ความรับผิดชอบ : responsibility

ทุกความรู้สึกของเรา มีความต้องการลึก ๆ ที่ยึดมั่น ขับเคลื่อนอยู่ภายใน การรับผิดชอบต่อตนเอง คือ การค้นหาความต้องการลึกๆ เหล่านั้นจากภายในจิตใจของตนเอง ไม่ใช่การมองหาใครสักคน มารับผิดชอบอารมณ์ความรู้สึกของเรา การค้บพบความต้องการลึก ๆ ภายใน จำเป็นต้องอาศัยความสงบของจิตใจ บวกกับทักษะการใคร่ครวญ (Contemplative) ย้อนกลับมาที่ร่างกาย จิตใจตนเอง การรู้ใจตนเอง คือ การรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการคลี่คลายความขัดแย้งจากภายใน ซึ่งแท้จริงแล้วเกิดจากการลืมเลือนจิตใจของเราเอง การออกจากพื้นที่คุ้นเคย (Comfort Zone) เพื่อก้าวสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Zone) เราอาจต้องเผชิญความไม่คุ้นชินเล็ก ๆ น้อย ๆ รู้สึกยาก รู้สึกอึดอัดอยู่ภายใน ช่วงแรก ๆ เราจะพยายามเชื่อมโยงความรู้สึกภายใน กับเรื่องราวภายนอกให้ได้ พอมันค่อยๆ แยกขาดจากกัน คือ เรื่องราวภายนอกก็ส่วนเรื่องราวภายนอก ความรู้สึกภายในก็คือความรู้สึกภายใน มันจะเหลือแต่อาการฉีกตึงข้างใน คราวนี้ ก็เพียงแค่เฝ้าดูอาการจางคาย ยิ้มเพื่อต้อนรับพื้นที่ใหม่ในจิตใจของเราเอง PURE Learning Process

การเรียนรู้ที่เรียบง่าย คือ ที่สุดของการเรียนรู้ : simple is good

เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อปรับสภาวะให้ผู้เรียนพร้อมเรียนรู้ หรือ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในเนื้อหาให้ได้อย่างลึกซึ้ง เครื่องมือการเรียนรู้ และ กิจกรรมต่างๆ จึงไม่ใช่แก่นสาระของการเรียนรู้ คุณค่าจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ถูกจังหวะ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เครื่องมือการเรียนรู้ ที่เรียบง่ายที่สุด คือ การพูดคุยกัน ซึ่งเป็นพื้นฐาน เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ หากสามารถพูดคุยกันได้ รับฟังกันได้ มีความไหลลื่นในวงสนทนาดีอยู่แล้ว (Generative Dialogue) เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้กิจกรรมใดๆ ให้มากไปกว่านี้ PURE Learning Process