Monthly Archives: August 2016

การฟังอย่างลึกซึ้ง : deep listening

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ การฟังด้วยใจที่เปิดรับ สามารถจับประเด็นได้ เข้าถึงความรู้สึกของผู้พูด จนไปถึงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อประสานพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ในขณะที่ฟัง คุณจำเป็นต้องตระหนักรู้ถึงเสียงภายในตนเอง ผ่อนคลายร่างกาย ปล่อยผ่านเสียงภายใน ขยับขยายพื้นที่ว่างภายในใจเพื่อให้การฟังของคุณสามารถโอบรับประสบการณ์ที่หลากหลาย แม้จะเป็นประสบการณ์ที่คุณไม่คุ้นชินได้ก็ตาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ให้สัมภาษณ์กับ โอปราห์ วินฟรีย์ เอาไว้ว่า “การฟังอย่างลึกซึ้งนั้น คือ การฟังที่สามารถบรรเทาความทุกข์ของคนพูด โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างว่า การฟังด้วยความกรุณา (Compassionate Listening) เราฟังด้วยเจตนาเดียว คือ ช่วยให้เขาหรือเธอ ได้ปลดปล่อยให้ใจว่าง” การฟังอย่างลึกซึ้งในทฤษฎีตัวยู (ออตโต ชาร์เมอร์, 2563) ได้แบ่งการฟังออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) I-in-Me (2) I-in-It (3) I-in-You และ (4) I-in-Now โดยมีรายละเอียดดังนี้ การฟังระดับที่ 1 “I-in-me” ในขณะที่ฟังคุณจะตัดสินสิ่งที่ฟัง จากประสบการณ์เดิมของคุณเอง การฟังจึงเป็นการเลือกฟังเฉพาะสิ่งที่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของคุณ […]

ศิลปะการโน้มน้าวใจใน 3 มิติ: The Art of Persuasion

อริสโตเติล กล่าวว่า 3 ส่วนหลักของการจูงใจ ได้แก่ เหตุผล (logos/logic/mind), จริยธรรม (ethos/ethic/soul) และ อารมณ์ (pathos/emotion/heart) เมื่อนำรากศัพท์ภาษากรีกทั้ง 3 คำ ได้แก่ logos, ethos และ pathos มาใคร่ครวญหาความหมาย ร่วมกับการศึกษาบทความจาก Harvard Business Review จึงเกิดเป็น ศิลปะการพูดจูงใจ แบบ 3 มิติ ดังนี้ มิติ 1. พูดได้ถึงใจ (Emotion) ผู้พูดเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟัง และ พูดออกมาจากใจที่รู้สึกตรงกัน รู้ถึงความเป็นอยู่ของผู้ฟัง และ ความรู้สึกจริงๆ ที่ซ่อนอยู่ พูดโดย การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยเฉพาะเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นสดๆ พูดด้วยน้ำเสียงที่เข้าถึงอารมณ์ กระตุ้นความรู้สึกเชิงลึกภายใต้จิตใจ ให้คำพูดที่พูดแปรเปลี่ยนเป็นภาพปรากฏขึ้นในจิตใจของผู้ฟังได้ มิติ 2. พูดได้บรรเจิด (Reason) ผู้พูดรู้ว่าอะไรคือแก่นของการพูด […]

เรียนรู้อย่างเขลา เล่นอย่างวัยเยาว์ : vulnerability

ทันทีที่ลืมตาดูโลก เราฝากชีวิตไว้กับผู้อื่นแบบ 100% เราพึ่งพาตนเองไม่ได้เลย เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอขั้นสุด (vulnerability) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่มีการเปิดรับการเรียนรู้ขั้นสุดเช่นกัน เมื่อเราหัวเราะ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นปลอดภัย เมื่อเราร้องไห้ เราเรียนรู้ว่าสิ่งนั้นไม่น่าปรารถนา เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เรายังไม่ต้องใช้ความคิด เรากล้าลองผิดลองถูก โดยปราศจากความกลัว เราลองชิม ลองหยิบจับมาแล้วทุกอย่าง เกิดชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยเด็ก เรามีความกลัวน้อยมาก ฝนตกก็แค่เย็นชุ่มฉ่ำ ความเปียกไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เราทำตัวบ้าๆบอๆ ก็ได้ ไม่ต้องตั้งใจกับการเรียนรู้มาก กลับเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย ตกลงว่า การเรียนอย่างเคร่งในห้องเรียน นั้นเกื้อหนุนการเปิดรับการเรียนรู้ของเราหรือไม่ ? ในระหว่างทางที่เราเรียนรู้ เกิดชุดความเชื่อต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกัน โลกแห่งความเป็นไปได้ของเราก็ค่อยๆแคบลงไปด้วย เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความเข้มงวดในแบบแผน นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ หรือ เราอาจยึดความเชื่อที่ว่า ความยืดหยุ่นในชีวิต นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จ เรายึดความเชื่อต่างๆ จนอาจถึงขั้นรับไม่ได้ กับผู้อื่น ที่มีชุดความเชื่อตรงข้ามกัน เราเลือกค้อน แล้วทิ้งกรรไกรไป หรือ เลือกกรรไกรแล้วทิ้งค้อนไป ความรอบรู้ของเราพรากเครื่องมืออันวิเศษมากมายไปจากเรา อันที่จริงแล้ว ในความเขลาของวัยเยาว์ เราเคยมีทั้งค้อนสำหรับตอกตะปู […]

สี่สภาวะในวงสนทนา : generative dialogue

รวมแล้วแยก แยกแล้วรวม สี่สภาวะที่เกิดขึ้น ในวงสนทนา หนึ่ง) เริ่มต้นล้อมวง รวมตัว เริ่มต้นแนะนำตัวที่เป็นเปลือกนอก แบ่งปันความคิดเห็นในแบบสุภาพ เกรงใจ กลัวเสียงวิจารณ์ภายนอก (talking nice) สอง) เริ่มแยกตัวเองจากองค์รวม มีความคิดเห็นเป็นตัวของตัวเอง แสดงจุดยืน เลือกข้างตามเหตุผล ชุดข้อมูล ความคิด ที่เคยมีมาก่อน (talking tough) สาม) เริ่มกลับมาสำรวจตนเอง ได้ยินเสียงภายใน มีการชั่งใจ ตั้งคำถาม สืบค้น สะท้อนจากเสียงภายในของตัวเองต่อส่วนรวม (reflective dialogue) สี่) มีสติต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน (presencing) เชื่อมโยงเห็นองค์รวม เกิดบทสนทนาที่ไหลเลื่อน (flow) เกิดปัญญากลุ่ม (collective wisdom) ที่สั่งสม เกื้อหนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แม้เพียงคิดในใจ ความคิดนั้นก็ล่วงรู้ถึงกันได้ ผ่านสนามแห่งปัญญา (generative dialogue)   นอกจากนี้ ความสามารถในการการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (empathy) ของตนเองและผู้อื่น อย่างซื่อตรงเป็นปัจจุบัน คือ […]

การแปรเปลี่ยนพลังงาน : stance dances

บางภาวะของชีวิต เมื่อเราเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลไกสมองจะตัดเข้าใช้ระบบปกป้อง เพื่อการอยู่รอด (survival coping stances) จะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าที 4 อย่าง ได้แก่ 1. ยอม (placating) เอาใจผู้อื่นอยู่เรื่อยไป จนลืมใส่ใจตัวเอง 2. ต่อว่า (blaming) ต่อว่าผู้อื่น สนใจแต่ตัวเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น 3. เจ้าหลักการ (super-reasonable) ยึดอยู่กับหลักการ ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึก 4. เฉไฉ (irrelevance) เบี่ยงบ่าย เปลี่ยนประเด็น ตลกกลบเกลื่อน ในขณะที่ มีงานวิจัยพบว่า ท่าทางของร่างกาย (body) นั้น ส่งผลต่อจิตใจ (mind) และ สมอง (brain) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถปรับท่าทางของเรา เพื่อแปรเปลี่ยนพลัง ออกจากการตกอยู่ในกลไกปกป้องอย่างนุ่มนวล ดังนี้ 1. ออกจากกลไก ยอม ด้วยท่าทางแบบ Powerful Tree จะช่วยให้เราโอนอ่อน ได้อย่างมั่นคง ดั่งต้นไม้ที่พร้อมโอบอุ้มผู้อื่นอย่างกรุณา 2. […]