Monthly Archives: January 2016

จินตนาการข้ามขอบ : mental rehearsal

การซักซ้อมในจินตนาการ (mental rehearsal) คือ การจินตนาการเห็นภาพตัวเราเอง ในพฤติกรรมใหม่ๆ เช่น ออกกำลังกายยามเช้า ซ้อมกีฬาอย่างมีวินัย หรือ สามารถพูดต่อหน้าคนจำนวนมากได้อย่างมั่นใจ การซักซ้อมในจินตนาการ ช่วยรื้อสร้างพฤติกรรมที่เคยคุ้น โดยเข้าไปรื้อระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติที่บันทึกอยู่ภายในสมองชั้นใน (reptilian brain) หรือ ก้านสมอง (core brain) เพื่อเขียนระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติชุดใหม่ ที่มีคุณภาพมากขึ้นตามที่มุ่งมั่นตั้งใจ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกความจริง พฤติกรรมหลายสิ่งอย่างที่มนุษย์ทำไปด้วยระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติ เช่น การเขียนปี พ.ศ. ซ้ำๆ จนคุ้นชิน ทำให้เราเขียนปี พ.ศ. ออกมาต่อจากวันที่ และ เดือน โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด พอข้ามจากปีเก่า เข้าสู่ปีใหม่ เรามักยังคงคุ้นเคย กับการเขียนปี พ.ศ. ของปีก่อน ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเขียนโดยไม่รู้ตัวว่าผิดด้วยซ้ำ เรียกขั้นนี้ว่า การไม่รู้ว่าเราไม่สามารถ (unconsciously unskilled) แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีเพื่อนมาทักบอกให้แก้ หรือ เราอาจจะสังเกตพบข้อบกพร่อง แปลกแยกจากผู้อื่นด้วยตัวเอง เรียกขั้นตอนนี้ว่า การรู้ว่าเราไม่สามารถ (consciously unskilled) […]

พูดจา กระชับ จับใจ : Intuitive Speech

รู้สึกหลงใหลคำพูดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา (Dialogue) การสนทนาที่ปล่อยให้ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของท่วงทำนองการพูดคุย เมื่อเราฟังความเงียบได้ เราจะได้ยินเสียงกระซิบจากจักรวาล และบ่อยครั้งเมื่อความเงียบมากพอ เราจะได้ยินเสียงของปราชญ์ ผู้ที่มักสงบอยู่ อาจเป็นใครสักคนในวงสนทนาที่เราไม่เคยคาดคิดก็ได้ คำพูดที่อ่านจากประสบการณ์ชีวิต บางเสี้ยวบางตอน สะท้อนออกมาเพื่อมอบให้ผู้ฟัง ด้วยความรัก ได้แบบกระชับ จับใจ (Intuitive Speech) จอมยุทธที่มีเพลงยุทธ ย่อมเพลิดเพลินในการท่องยุทธฉันใด กระบวนกรผู้มีวาทศิลป์ ย่อมเพลิดเพลินในวงสนทนาฉันนั้น ไม่ว่าท่องเที่ยวไปสู่วงสนทนาที่ไหน ผู้คนย่อมยกย่องในเพลงดาบที่งดงามฟันฉับเดียวขาด มากกว่า เพลงดาบที่ร่ายรำเรื่อยไปแบบไร้ทิศทาง เหตุผลของการพูดที่กระชับนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย ยังหมายถึง การเอื้อเฟื้อเวลาให้กับผู้อื่นได้พูดอีกด้วย วิธีการพูดของแต่ละคนนั้น อาจกลั่นกรองมาได้จากหลายวิธี ผมทำได้เพียงเฝ้าสังเกต เรียนรู้จากตัวเองในขณะที่ถึงเวลาจะพูด ผมใช้เวลาในการหายใจเล็กน้อยก่อนพูด เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะไม่คิดหาถ้อยคำใดๆ เพื่อมาพูด ในใจรู้แต่เพียงว่าจะมอบสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ภายหลังการหายใจเข้าออกสักพัก จะมีถ้อยคำผุดขึ้นเอง 2-3 คำ บ่อยครั้ง ผมจะใช้วิธีการ เล่าเชื่อมโยงถึงคำสำคัญเข้าด้วยกัน ด้วยการอ่านประสบการณ์ของตัวเอง พร้อมกับการอ่านความรู้สึกของผู้ฟังไปด้วย แต่ละประโยคที่พูด จึงสั้นยาวได้ความ เหมือนข้าวที่พอดีคำ กลืนกินได้สะดวก สภาวะนี้ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ มันนำพาให้การพูดนั้น […]

กระบวนกรวิถี ไร้จากเส้นแบ่งแยก : The Facilitator’s Way

บันทึก กระบวนกรวิถี 10 ม.ค. 59 ณ บ้านอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู บันทึก โดย รัน ธีรัญญ์ ✿ วันนี้ ได้แชร์ประสบการณ์งานกระบวนกร ล่องใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ได้ร่วมทีม FA กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู ให้กับชุมชนกระบวนกรวิถีได้ฟัง เป็นการแบ่งปันเรื่องราวพอสังเขป ที่จะสะท้อนให้เกิดประโยชน์ กับเพื่อนกระบวนกร แหม็ก อาใหญ่ และ พี่ไก่ ก็ได้ร่วมแชร์ด้วย ✿ ผุดความคิด ตกผลึกขึ้นมาว่า ในห้วงเวลาของการเยียวยา อาจคือ การพัฒนาปัญญาทั้ง 3 ฐานนั่นเอง โดยพิจารณาที่ฐานใจ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดสุด จากความน้อยใจ อิจฉา ริษยา โกรธเคือง สู่ความรัก การขอบคุณ ชื่นชมกัน ให้อภัยกันจากก้นบึ้งของหัวใจ ✿ มีคำโดนใจจากหนังสือที่น้องต้องได้อ่านมา เป็นคำพูดประมาณนี้นะ “การโกรธให้เห็นกันตามจริง อาจจะดีกว่าการเก็บความจริง […]

กระบวนกรสัญจร ล่องแดนใต้ : Facilitator workshop in the south of Thailand.

เริ่มต้นปี 2559 ด้วยการติดตาม ร่วมทีม FA (Facilitator) กับอาใหญ่ วิศิษฐ์ วังวิญญู เดินทางล่องใต้กับ 2 Workshop ติดต่อกัน ได้รับประสบการณ์ และ ได้เรียนรู้วิถีแห่งกระบวนกร ทั้งใน Workshop และ นอกเวลา Workshop อาใหญ่เปิดให้ทีม FA ร่วมคิดวางแผนกระบวนการสอนอยู่ทุกระยะ ระหว่างช่วงพักในแต่ละวัน และ ระหว่างมื้ออาหาร เช้า กลางวัน เย็น และ รอบค่ำด้วย ขอบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ใน Workshop แรก คืนสู่ความเป็นเลิศ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ในองค์กรการศึกษาแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 วัน (4-6 มกราคม 2559) ดังต่อไปนี้ครับ Workshop คืนสู่ความเป็นเลิศ วันที่ 1  (4 มกราคม 2559) ช่วงเช้า : หลังจากการ […]