Monthly Archives: December 2015

ผู้นำตามสภาวการณ์ : situational leadership

การเคลื่อนที่จากบทบาทหนึ่ง สู่อีกบทบาทหนึ่งอย่างเหมาะสม เช่น เคลื่อนที่จากการเป็นผู้นำในที่ทำงาน สู่การเป็นคุณพ่อในบ้าน เคลื่อนที่จากการเป็นผู้เชี่ยวชาญ สู่การเป็นนักเรียนรู้ที่สดใหม่ เคลื่อนที่จากการเป็นนักพูด สู่การเป็นผู้ฟังที่ปราศจากความอยากพูด นอกจากต้องฝึกฝนทักษะในบทบาทนั้นๆให้ได้อย่างดีแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ ศิลปะแห่งการแปรเปลี่ยนบทบาท จะทำอย่างไรให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจากตัวตนเดิม ไปสู่ตัวตนใหม่ ได้แบบพริ้วไหวไร้เงา เท่าทันห้วงเวลาแห่งปัจจุบันขณะ ศิลปะการเคลื่อนย้ายตัวตน การเชื่อแบบเดิมๆ ว่าเราเป็นคนแบบนี้ จะพูดจาแบบนี้ล่ะ คิดว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว จะทำให้เราจมจ่อม อยู่ในบุคลิกภาพแบบเดิมๆ พบปัญหาแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยวงจรสมองอัตโนมัติ ตราบเมื่อค้นพบตัวตนหลักของตัวเอง แล้วยอมรับ จนสามารถถอดถอนตัวตนเดิมๆได้ ก็จะสามารถย้ายไปสู่ตัวตนใหม่ๆ พัฒนาบุคลิกภาพแบบใหม่ๆ มากขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม ศักยภาพแห่งชีวิตเปิดกว้าง สามารถสวมตัวตนหนึ่ง ณ ขณะหนึ่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดมั่นในการเป็นตัวตนใดๆ อย่าฝั่ง chip ว่าเราทำได้เพียงเท่าที่มีใครบอก อย่ายึดติดกับเป้าหมายในวัยเด็ก ที่เราเคยถูกถามว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรจ๊ะ” เราสามารถขยับขยายความฝันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เมื่อเราเติบโต ได้เห็นโลกที่กว้างใหญ่มากขึ้น มนุษย์สามารถเป็นได้ทุกอย่าง สำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ต้องการ ตามวิสัยทัศน์ที่สัมผัสได้ถึง จักรวาลยังคงเคลื่อนไหว ธรรมชาติแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ และ เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวตนได้ นอกจากนี้ การพัฒนาศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายตัวตน เป็นปัจจัยสำคัญช่วยส่งเสริม วุฒิภาวะแห่งสัตบุรุษ […]

จิตเป็นหนึ่ง ความคิดเป็นอิสระ : Oneness

ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังอยู่ในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่นและ สามารถรับรู้วาระของกลุ่มได้ การรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันขณะเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ และ สามารถเชื่อมต่อสู่ชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน นี่คือ สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) ของการเรียนรู้ร่วมกัน สภาวะหนึ่งเดียวในวงสนทนา สภาวะหนึ่งเดียว (oneness) คือ การหลอมรวมหัวใจของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับหัวใจของชุมชน มีความศรัทธาต่อตัวเองและชุมชน เป็นกุญแจที่จะนำพาเราเข้าสู่บรรยาการแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน การเชื่อมโยงจุดร่วม ของความคิดเห็นต่างๆ อย่างรอบด้าน 360 องศา (wholeness) จากผู้เรียนรู้ภายในชุมชน โดยไม่ด่วนตัดสิน จะค่อยๆ ก่อเกิดพลังแห่งความเป็นมิตรและไว้ใจ ตลบอบอวลเป็นมณฑลแห่งพลัง นำพาผู้เรียนรู้เข้าสู่สภาวะที่พร้อมเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด (optimum learning state)  สภาวะหนึ่งเดียวนี้ เกื้อกูลให้ผู้เรียนรู้ทุกคนเบาสบายภายใน พร้อมเปิดเผย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในขณะที่ จะไม่รีบร้อนแยกแยะ แตกประเด็นปัญหา ที่มากมายขึ้นโดยทันทีทันใด เหมือนอย่างการอธิปราย (discussion) ความไม่รู้ คือ ของขวัญ ปัญญาแห่งความไม่รู้ยิ่งใหญ่มหาศาล มากมายกว่าความรู้ชุดเดิมที่เคยมี การพบความไม่รู้ จึงคือ ของขวัญที่ล้ำค่า ความพยายามถาโถมความรู้ของตนสู่ชุมชน หรือ ผู้เรียนรู้ อาจทำให้ความรู้นั้นท่วมท้น ก่อเกิดกำแพง […]

เล่าเรื่องย่อจิตตนคร ในงานวัดลอยฟ้า จิตตนคร : mind city

วันที่ 3 – 7 เมษายน 2557 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ธรรมภาคี สวนโมกข์ กรุงเทพฯ องค์กรทางพระพุทธศาสนามากมาย ได้ร่วมกันจัดมหกรรมงานวัด (temple fair) กลางกรุง บนห้างสรรพสินค้า สยาม พารากอน ชื่องานว่า งานวัดลอยฟ้า จิตตนคร ในงานนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยการเล่าเรื่องย่อ จิตตนคร นครหลวงของโลก พระนิพนธ์ ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก* ให้กับผู้ที่มาร่วมชมงาน ที่สนใจ รับรู้เรื่องราวในพระนิพนธ์ แบบพอสังเขป ในแบบสนุกสนาน เข้าใจง่ายๆ ภายในเวลา 20-30 นาที จิตตนคร เป็นนครหลวงของโลก เป็นแหล่งเกิดแห่งสุข ทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม สมบัติ และ วิบัติแห่งโลกทั้งสิ้น เป็นเมืองลับแล ไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่เห็นได้ด้วยตาใจ เมื่อทำความสงบจิตดู เหตุการณ์สำคัญ ในวันปีใหม่ […]

ผลผลิตจากความคิดเห็นที่จริงแท้ : shared vision

เรียนรู้ เรื่อง การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building shared vision) ผ่านนิทาน เรื่อง ฟังเสียงภูเขาไฟ (Listening to the Volcano : conversations that open our minds to new possibilities) แต่งโดย David Hutchens สรุปเรื่องย่อพอสังเขป ได้ตามนี้เลยครับ กาลครั้งหนึ่ง มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาไฟที่คุกรุ่น ชื่อว่า หมู่บ้านต้นสน ผู้คนในหมู่บ้านแห่งนี้ มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อพูดออกมา จะมีวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ หล่นออกมาจากปากผู้พูดด้วย เรียกว่า แผ่นคำพูด คล้ายๆ กับนวนิยายไทย เรื่องพิกุลทองเลยแฮะ เวลาที่นางเอกพูดจะมีดอกพิกุลทองล่วงหล่นออกมาด้วย แต่ในนิทานเรื่องนี้ แผ่นคำพูดมีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมนะครับ ขนาดใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว ประมาณ 1 ตารางฟุตเห็นจะได้ โดยมีความหนาประมาณอิฐก้อนนึงเลยนะ ความแปลกพิศดารของผู้คนในหมู่บ้านนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องแผ่นคำพูดนะครับ ยังมี แผ่นความคิด อีกด้วย เพียงแต่แผ่นความคิดจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นบางครั้งเท่านั้น เมื่อชาวบ้านสงบนิ่งเพียงพอ จนเกิดเป็นความคิดแบบปิ๊งแว๊บขึ้นมา จึงจะเกิดเป็นแผ่นความคิดนะ ส่วนแผ่นคำพูดนั้น […]

แลกเปลี่ยนชัวร์กว่าบอกสอน : mental models

เรียนรู้ เรื่อง รูปแบบความคิด (mental models) ผ่านนิทานเรื่อง เงาแห่งยุคหิน (Shadows of the Neanderthal : illuminating the beliefs that limit our organizations) สรุปเรื่องย่อเรียบเรียงพอเข้าใจได้ ตามนี้ครับ กาลครั้งหนึ่ง มีมนุษย์ถ้ำ 5 คน อาศัยรวมกันอยู่ ภายในถ้ำแห่งหนึ่ง พวกเขาไม่เคยออกจากถ้ำ ด้วยเหตุที่ทุกคนมีภาพความน่ากลัวภายนอกถ้ำต่างๆ กันไป มนุษย์ถ้ำจะหันหลังให้ปากถ้ำ ดังนั้น พวกเขาไม่เคยเห็นสัตว์ต่างๆ ภายนอกถ้ำเลย จะเห็นก็แต่เพียงเป็นเงาของสัตว์ ที่ฉายลงบนผนังถ้ำเท่านั้น และ พวกเขาก็คิดว่า นั่นเป็นสัตว์จริงๆ มนุษย์ถ้ำคนหนึ่ง ชื่อ บูกี เขามีความคิดที่ต่างออกไป ครั้งหนึ่ง เขาเผลอพลั้งปากพูดถึงความคิดที่แหกคอกนั้นออกไปว่า “เขาสงสัยว่ามีอะไรนอกถ้ำกันแน่” เพียงเท่านั้น ก็ถูกบรรดาเพื่อนมนุษย์ถ้ำรุมด่า รุมวิพากษ์วิจารย์ ไปต่างๆนานา จนเลยเถิด ถึงขั้นขับไล่ บูกี ออกจากถ้ำไป ด้วยหวังจะให้ บูกี หายไปตลอดกาล บูกีออกสู่โลกภายนอกถ้ำ […]